การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ CLODSbเพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค32201) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CLODS, การแก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ CLODS และเพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค32201) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CLODS เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค32201) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนซับนกแก้ววิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวนนักเรียน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CLODS เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค32201) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตรวจสอบความรู้ (Check knowledge: C) ขั้นเรียนรู้ร่วมกัน (Learn together : L) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Operative : O) ขั้นอภิปรายและตรวจสอบ (Discussion and examination: D) และขั้นสรุปและประเมินผล (Summary and evaluation: S) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CLODS เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค32201) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 78.80 ผ่านเกณฑ์การประเมินสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CLODS เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค32201) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (mean = 4.53, S.D. = 0.52)
References
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2555). การพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและจิตตนิสัยของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาศิลปากร.
ชมพูนุท รุ่งสว่าง. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้ง 17. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท).
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21” วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 763 - 774.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง )พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เสาวลักษณ์ บุญจันทร์. (2558). ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กฎของไซน์และโคไซน์ ที่สอนโดยใช้กระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
Joyce, B. & Weil, M. (2000). Model of teaching. 6th ed. Boston : Allyn and Bacon