ศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในมีต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

ผู้แต่ง

  • สุพิชฌาย์ เจริญรักษ์ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2

คำสำคัญ:

การดำเนินงานนิเทศภายใน, คุณภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ศึกษาคุณภาพของผู้เรียนที่เกิดจากกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ประชากรที่ใช้ในศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูจำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามการดำเนินงานนิเทศภายของในโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒ และแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนที่เกิดจากกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลวิจัยพบว่าคุณภาพของการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด (  gif.latex?\mu  =  4.65 ,  gif.latex?\sigma  = 0.51) และคุณภาพของผู้เรียนที่เกิดจากกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒   มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด (  gif.latex?\mu  =  4.68 , gif.latex?\sigma   = 0.21)

References

กิจเกษม อุปการะกิจ. (2560). ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานนิเทศภายใน โรงเรียนนวมนิทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กิตติพร ปัญญาภิญโญผล. (2556). สมรรถภาพในการนิเทศการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกชา กลิ่นเพ็ง. (2554). การดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนบ้านไหมทอง.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร.

ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2558). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญจันทร์ สีสันต์. (2560). วิธีวิจัยและสถิติขั้นสูงสำหรับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ. : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย

โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒. (2562). ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:http://www.ben2.ac.th/news.php

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์แอนด์ ปรินท์จำกัด.

สูทธนู ศรีไสย์. (2557). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Glickman, C. D.; Gordon, S.P.; & Ross-Gordon, J.M. (2007). Supervision and Supervision and Curriculum Development. 135-148. Instructional Leadership: A Developmental Approach. (7th Ed.). Boston: Allyn & Bacon.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01