การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กิตติพศ โกนสันเทียะ โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, สมรรถนะดิจิทัล, ครูวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สระบุรี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยที่มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการมีส่วนร่วมอย่างมืออาชีพ 2. ด้านทรัพยากรดิจิทัล 3. ด้านการสอนและการจัดการเรียนรู้  4. ด้านการประเมินผล 5. ด้านการเสริมพลังในการจัดการเรียนรู้ 6. ด้านการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Modified Priority Needs Index (PNImodified) จากนั้นนำผลที่ได้มาจัดเรียง ผลวิจัยพบว่า ครูมีการปฏิบัติและมีพฤติกรรมในสมรรถนะดิจิทัลทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาศาสตร์ ในด้านการประเมินผล มีค่า PNImodified = 0.298 ทั้งนี้ในด้านการประเมินผล ครูมีระดับการปฏิบัติจริงโดยมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง และส่วนของระดับที่ควรปฏิบัติได้มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก

References

กณิชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์

ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

กรรมประชาสัมพันธ์. (2564). 5 แผนแม่บทสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย รากฐานสำคัญพัฒนาประเทศให้ก้าวไปอย่างมั่นคง.

เข้าถึงจาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/7213.

กอบสุข คงมนัส. (2561). เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้: วิถีแห่งการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 279–290.

ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล. (2557). การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. สุทธิปริทัศน์, 28(86), (352 – 364)

ฐิติวัสส์ สุขป้อม, ณัฏฐกรณ์ ปะพาน, ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง และอุดม ตะหน่อง. (2563). ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(2).

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิด. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 484-505.

น้ำเพชร นาสารีย์, รัตนะ บัวสนธ์, ดิเรก ธีระภูธร และสายฝน วิบูลรังสรรค์. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการรู้เรื่องการประเมินของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(2), 78-98.

วุฒิชัย ภูดี และชัยณรงค์ เพียรภายลุน. (2564). อนาคตภาพของครูยุคดิจิทัลหลังจากวิกฤตการณ์โควิด 19, วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 321-330.

สุระศักดิ์ เมาเทือก เกียรติสุดา ศรีสุข น้ำผึ้ง อินทะเนตร และอุไรวรรณ หาญวงค์. (2558). การใช้การสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียน. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(1), 13-36.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 4/2564. เข้าถึงจาก https://www.obec.go.th/archives/428922.

อภินันท์ ธรรมคุณ และกอบกุล สรรพกิจจำนง. (2552). สภาพ ปัญหา และความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 25-36.

Louise, S., and Anne, Y. (2021). Do digital competence frameworks align with preparing beginning teachers for digitally infused contexts? An evaluation from a New Zealand perspective, European Journal of Teacher Education, doi: 10.1080/02619768.2021.1975109

Redecker, C. (2017). European Framework for the Digital Competence of Educators: DigCompEdu. Publications Office of the European Union, Luxembourg.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01