ทัศนคติและพฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล ของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • สุชานุช สุขเสวี อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • อัจนา ปราชญากุล อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พิมพ์จันทร์ อารยเมธาเลิศ อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การเงินส่วนบุคคล, การวางแผนการเงินส่วนบุคคล, การจัดการทางการเงินส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จำนวน 409 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทัศนคติต่อการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษา ด้านที่มีระดับสูงที่สุด คือ ด้านการออมเงินอยู่ในระดับเห็นด้วย ( gif.latex?x\bar{}= 4.18, S.D. = 0.87) 2) ระดับพฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษา อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นบางครั้ง (gif.latex?x\bar{} = 2.23, S.D. = 0.67) โดยด้านที่มีระดับพฤติกรรมสูงสุด คือ ด้านการออม อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นบางครั้ง (gif.latex?x\bar{} = 2.30, S.D. = 0.63) รองลงมาด้านการหารายได้ อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นบางครั้ง (gif.latex?x\bar{} = 2.20, S.D. = 0.74) และด้านการใช้จ่าย อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นบางครั้ง (gif.latex?x\bar{} = 2.18, S.D. = 0.65) ตามลำดับ 3) ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษา นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีต่างกันและสาขาวิชาที่เรียนต่างกัน มีระดับพฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลโดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีต่างกัน มีระดับพฤติกรรมด้านการใช้จ่าย และด้านการลงทุน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กิตติศักดิ์ คงคา. (2563). Money Lecture เรียนหนึ่งครั้ง ใช้ได้ทั้งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ฮาวทู.

ดวงฤดี จำรัสธนสาร สุชานุช สุขเสวี และสิริวรรณ ชวลิตเมธา. (2564). แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการวางแผนทางการเงิน ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ.2564, 682-691.

ธนพร จันทร์สว่าง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปี พ.ศ. 2562, 154-161.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. การบริหารจัดการเงิน. [online] เข้าถึงได้ : https://www.1213.or.th/th/moneymgt/Pages/moneymanagement.aspx: 2565

ธนานพ ลิ่มสุวรรณโรจน์ (2562). การวางแผนทางการเงินของนักเรียนมัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี, สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ปิยนันท์ แจ้งอักษร (2564). พฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลในช่วงสถานการณ์โควิด – 19 ของคน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปมิกา กระแสงแก้ว. (2561). พฤติกรรมการออมและความรู้ด้านการลงทุนของ Gen Y ในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พจรินทร์ รังศรีสัมพันธ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออมและทัศนคติของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีบางปะกอก กรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1(2), 48-56.

พนมพล สุขวัฒนทรัพย์. (2558). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมเกี่ยวกับการออมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

ไพรินทร์ รังศรีสัมพันธ์. (2561). ปัจจัยทางทัศนคติด้านอุปสงค์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการเงินฝากของธนาคารออมสิน สาขาพร้อมพงษ์. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1(2), 89-94.

รักษ์สุดา เหล่าคา. (2563). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รุ่งตะวัน แซ่พัว. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการออมและการลงทุนของ Generation X ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมจิตร์ วิธิยานนท์. (2558). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 27(94), 39-48. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

TECHSAUCE. รู้จักบริหารเงินให้ธุรกิจ SMEs ไปรอดในยุคดิจิทัล. [online] เข้าถึงได้: https://techsauce.co/pr-news/know-how-to-manage-money-for-smes-to-survive-in-the-digital-age: 2565

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29