การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับกัญชาถูกกฎหมาย และการใช้กัญชาเพื่อส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย
คำสำคัญ:
กัญชา, การรับรู้ของผู้บริโภค, ธุรกิจท่องเที่ยว, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจกัญชาถูกกฎหมายในประเทศไทย ตลอดจนทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับการนำกัญชามาเป็นจุดขายในการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและนครปฐม การเก็บข้อมูลมีแบบสอบถามที่มีข้อมูลครบถ้วนสามารถนำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 406 ชุด และผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 5 คน ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 98.52 ทราบข้อมูลเกี่ยวกับกัญชาถูกกฎหมายในประเทศไทย โดยสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้บริโภครับรู้เกี่ยวกับธุรกิจกัญชาถูกกฎหมายนั้นแตกต่างกันออกไป ผู้บริโภคมีทัศนคติในเชิงบวกมากที่สุดในประเด็นเกี่ยวกับการรับรู้ประโยชน์และโทษของกัญชาและการนำมาใช้ในทางการแพทย์ มีทัศนคติในระดับปานกลางในประเด็นการใช้กัญชาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว และมีระดับทัศนคติน้อยที่สุดในประเด็นเกี่ยวกับการนำธุรกิจกัญชาเข้ามาอยู่ในชุมชน เพื่อให้ผู้บริโภคมีการรับรู้ที่ตรงกันผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะให้การนำเสนอข่าวสารทางสื่อโซเชียลมีเดียควรอ้างอิงข้อมูลจากต้นทางของนโยบายกัญชาเสรีโดยตรงและนำเสนอในทิศทางเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน ธุรกิจกัญชาในระยะแรกอาจจำเป็นต้องจำกัดอยู่ในพื้นที่เฉพาะซึ่งมีการควบคุม และควรสร้างภาพลักษณ์ของกัญชาในเชิงสรรพคุณทางการแพทย์และหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อหรือสัญลักษณ์ทางการค้าที่สื่อถึงอาการของผู้ติดยาเสพติด
References
ณปภัช จินตภาภูธนสิริ และ ณกมล จันทร์สม. (2563). ความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, 483-494.
ไทยรัฐออนไลน์. (2564). โนนมาลัยโมเดล ปฐมบท "กัญชา 6 ต้น" ปลูกเป็นวิสาหกิจชุมชน ห้ามปุ๊น! สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564 จาก https://www.thairath.co.th/
ธัญวลัย บุญมาก และ พิพัฒน นนทนาธรณ์. (2564) ความรู ทัศนคติ และการปฏิบัติตอการใชกัญชาของประชากรในเขตภาคกลาง. วารสารสมาคมนักวิจัย 26(2), 69-85.
ประชาชาติธุรกิจ. (2564). สารพัดสินค้ากัญชา-กัญชง. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564 จาก https://www. prachachat.net
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7). (2562, 17 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอน 62 ก.
ภาวิณี อ่อนมุข และ ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. (2564) ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ. (2557) การกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โรงพยาบาลค่ายสุรนารี.
สำนักข่าวอิศรา. (2559). สื่อนอกเผยผลสำรวจ พบคนไทย 80% ต้องการให้กัญชาถูกกฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564 จาก https://www.isranews.org/
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564, มิถุนายน). เรื่องน่ารู้...กัญชาทางการแพทย์ กัญชงพืชเศรษฐกิจ. ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564). พื้นที่ปลูกกัญชงกัญชา. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564 จาก http://hemp.fda.moph.go.th/
สำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ (2562). การอนุญาตให้ใช้กัญชาและกระท่อมในทางการแพทย์. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”