บทบาทการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • ประณาลี ลือชา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุภาวดี ลาภเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา , ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ (1) ศึกษาทัศนะของครูที่มีต่อบทบาทการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารและ (2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของครูที่มีต่อบทบาทการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามวุฒิการศึกษา อันดับของตำแหน่งและกลุ่มโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนปีการศึกษา 2565 จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (t-test) แบบ independent และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า บทบาทการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (gif.latex?X\bar{}= 4.21, SD = 0.53) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ชลบุรี เขต 3 สามารถสรุปได้ดังนี้ ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านภาวะผู้นำที่ร่วมไม่แตกต่างกัน ครูที่มีอันดับของตำแหน่งและ                กลุ่มโรงเรียนต่างกัน พบว่ามีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กติญา บุญสวน. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูชีววิทยาโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

กฤษณา แซ่เล้า. (2565). สภาพการดำเนินงานชมุชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23(2), 5.

นันท์นภัส ชัยสงคราม.(2561). การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางการศึกษาในสถานศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อภิรัตน์ ช่างเกวียน. (2564). บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประคอง รัศมีแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 21(2), 258.

ลีลาวดี รอดแล้ว. (2565). แนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วริศรา ชำนาญพันธ์. (2564). การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารการบริหารนิติบคุคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(7), 339-349.

วิทชภณ พวงแก้ว. (2564). การศึกษาสภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยม

ศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดีกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิลาสินี เทพเสนา. (2563). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารต่อการส่งเสริมการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอเมืองเชียงราย. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศุภวรรณ นุ่มพูล. (2564). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนและความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ปี พ.ศ. 2563 – 2566. ชลบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2562. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”สู่สถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2564.จากhttp://www.thaischool1.in.th

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(2553) .พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.bic.moe.go.th

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพื้นฐานพุทธศักราช 2560. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สิรภพ บุญยืน. (2561). แนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อมตา จงมีสุข. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

อำนาจ เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Herzberg, F., Mausner, B., Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work (2nd ed). Wiley: New York.

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratory

เผยแพร่แล้ว

2023-07-02