การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง มหัศจรรย์ร่างกายเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • อังสุมา ชูชื่น นักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (7E), เทคนิคหมวกหกใบ, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมหัศจรรย์ร่างกายเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องมหัศจรรย์ร่างกายเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้เทคนิคการเลือกสุ่มตามโอกาส เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

                 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมหัศจรรย์ร่างกายเรา มีคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.66 และ 20.93 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ทำให้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นักเรียนมีคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.79 และ 21.41 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ทำให้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

นิตยา ม่วงพะเนาว์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ โครงสร้างของพืช และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พิรดา ช่วงกรุด, สมชาย กฤตพลวิวัฒน์ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับ เทคนิคหมวก 6 ใบที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่องโมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 123-134.

ภวัตวริษฐ์ ธัญวัฒนยิ่ง. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและการมองเห็น ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดหมวกหกใบกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วริศรา กัณหาสร้อย. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนนางิ้วโนนสมบูรณ์ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562ก). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET) เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39): 262-279.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562ข). ผลสอบโอเน็ต นักเรียน ป.6. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564, จาก http://www. newonetresult.niets.or.th/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560ก). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564ข). การวิจัย PISA. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2562). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559 – 2563) การศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2564, จาก https://drive. google.com/file/d/11IlFtSI5tXYPCOCWCvJ4K7JLbs8GHcjK/view

สุณิษา สุกราภา. (2560). ผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อนุพร ทิพย์สิงห์. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ร่างกายของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อภิญญา รักพุดซา. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

โอภาส ขำมะลัง. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้วรรณกรรมพิจารณ์และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Eisenkraft Arthur. (2003). Expanging the 5E Model: A Proposed 7E Model Emphasizes Transferring Learning and the Importance of Eliciting Prior Understanding. The Science Teacher.

เผยแพร่แล้ว

2023-07-02