ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคมของชุมชนเมืองจัง ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ธีรโชติ สัตตาคม นักศึกษาประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • วรนารถ ดวงอุดม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • กนกรัตน์ ยศไกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การพัฒนา, หมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคมของชุมชนเมืองจัง และ 2) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคมชุมชนเมืองจัง ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งชุมชนเมืองจังได้รับการจัดสรรงบประมาณในการนำนวัตกรรมเพื่อสังคม มาประยุกต์ใช้ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) คือผู้นำและสมาชิกกลุ่มที่นำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ ตัวแทนผู้บริหารภาครัฐ ผู้นำชุมชน นักวิชาการ เจ้าของผลงานนวัตกรรมสังคม จำนวน 30 คน และจัดการสนทนากลุ่มกับตัวแทนผู้เข้าร่วมขับเคลื่อน โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมทั้ง 6 โครงการ จำนวน 12 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ระยะเวลาการวิจัยตั้งแต่ ตุลาคม 2564 ถึง ตุลาคม 2565 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ การพัฒนาหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคมชุมชนเมืองจัง ประกอบไปด้วย ศักยภาพผู้นำและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการจัดการและพัฒนาศักยภาพชุมชน ความสัมพันธ์เชิงสังคมในชุมชน  ความต้องการแก้ปัญหาของชุมชนและรัฐ การสร้างแรงจูงใจ การร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทักษะการปรับตัวของชุมชนต่อโลกาภิวัฒน์ และการสนับสนุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ยังพบข้อแตกต่างจากงานวิจัยอื่นที่ว่าปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ ทักษะการปรับตัวของชุมชนที่มีต่อโลกาภิวัฒน์ และ 2) ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ประกอบด้วย ด้านระบบการปฏิบัติงานของภาคีเครือข่าย ด้านโครงสร้างหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับด้านทักษะความสามารถการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม ด้านทัศนคติและแรงจูงใจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง และด้านความรู้ความเข้าใจในทรัพยากรชุมชน

References

โกวิท พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

แก้วจรรยา คงนุ่น และสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านคลองสามแพรก ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมวิจัย. 10(1), 24-37.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และวาสนา อิ่มเอม.(2546). นวัตกรรมทางสังคม : ทางเลือกเพื่อประเทศไทยรอด. วารสารสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (1), 145.

ธนจิรา พวงผกา (2559). ปัจจัยที่มีผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีของเทศบาลตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิสรา ใจซื่อ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 30(96), 108-120

ประเวศ วะสี. (2546). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา. วารสารหมออนามัย. 12(4), 7-12.

ประเวศ วะสี. (2556). นวัตกรรมทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ปรมัตถ์ โพดาพล และพูนสุข จันทศิลป์. (2565) แนวทาง ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 16(1), 267-277.

ปัญญรัตน์ รัตตรัตน์.(2564). ปัจจัยความสําเร็จในการบริหารและพัฒนาหมู่บ้านของคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง (อพป.) ในพื้นที่ตําบลวังสรรพรส อําเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. งานค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรมณ เทพแก้วและคณะ. (2561). การสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมในวิสาหกิจชุมชนข้าวบ้านอุ่มแสง จังหวัด

ศรีสะเกษ. วารสารบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. 8(1), 60-73.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). รายงานการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน(SROI). กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). พลวัตนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). ชุมชนเมืองจัง หมู่บ้านนวัตกรรม คืนความยั่งยืน ผืนป่า และผู้คน. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565. จาก https://www.nia.or.th/muangchang

เสรี พงศ์พิศ. (2551). ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.

Giovany Cajaiba-Santana. (2014). “Social Innovation: Moving the field forward”. A conceptual

Mulgan, G., Tucker, S., Ali, R., & Sanders, B. (2007). Social Innovation: What It Is, Why It Matters and How It Can be Accelerated. Retrieved February 18, 2022 from https://youngfoundation.org/wp-content/uploads/2021/10/Social-innovation-what-it=is-why-it-matters-how-it-can-be-accelerated-March-2007.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27