การใช้ชีวิตคู่ของนักศึกษาหญิง ระดับปริญญาตรีในภาคเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • สมศรี คะสัน หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • เยาวเรศ แตงจวง หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • วิทยา สุขสา หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การใช้ชีวิตคู่, นักศึกษาหญิง, เพศวิถี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงภูมิหลัง สาเหตุที่นำไปสู่การตัดสินใจ และบทบาทการใช้ชีวิตคู่ของนักศึกษาหญิง ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม จากนักศึกษาหญิง จำนวน 10 ราย ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2565 ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องเพศวิถี และการใช้ชีวิตคู่ก่อนการสมรส ผลการวิจัยพบว่า
1. ภูมิหลัง และการตัดสินใจมาใช้ชีวิตคู่ของนักศึกษา พบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูจากครอบครัวไม่มีผลต่อการตัดสินใจ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความรัก ต้องการอยู่ด้วยกันกับคนรักเพื่อความอุ่นใจ ช่วยเหลือกันในชีวิตประจำวันเป็นที่ปรึกษามีเพื่อนคู่คิด ต้องการมีแฟนเหมือนคนอื่น และสาเหตุด้านเศรษฐกิจ คือการแชร์ค่าใช้จ่ายร่วมกันระหว่างการศึกษา
2. บทบาทการใช้ชีวิตคู่ของนักศึกษาหญิง พบว่า มีการแบ่งบทบาทหน้าที่เหมือนการเป็นสามีภรรยา มีการแชร์เรื่องค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวัน โดยให้ฝ่ายหญิงบริหารจัดการและเก็บออมเงิน นักศึกษาหญิงจะทำงานบ้าน เช่น ซักผ้า รีดผ้า ทำอาหาร ทำความสะอาด รวมถึงดูแลการแต่งกาย สุขภาพ และควบคุมการเที่ยว ดื่มของฝ่ายชาย ด้านเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด พบว่า นักศึกษามองเรื่องการใช้ชีวิตคู่และการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นการช่วยเหลือและเรียนรู้กัน นำไปสู่ชีวิตคู่ในอนาคต โดยมีเพศสัมพันธ์เฉลี่ย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้ถุงยางอนามัย และกินยาคุมกำเนิด ครอบครัวมีทั้งยอมรับและไม่ยอมรับการใช้ชีวิตคู่นี้ บางครอบครัวจัดพิธีหมั้นหมายเพื่อให้สังคมยอมรับ
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ คือ การทำความเข้าใจเรื่องเพศวิถีที่เปลี่ยนแปลงไป ครอบครัวและหน่วยงาน ควรให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

References

เกศรินทร์ กาญจนภิรมย์. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

กฤตยา อาชวนิจกุล . (2554). “เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย”. วารสารประชากรและสังคม. นครปฐม : สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม, 43-65

กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ (2549). รายงานในชุดโครงการวิจัย. การสร้างและการจัดการความรู้ด้านเพศวิถี เพศภาวะ และสุขภาพทางเพศ. แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ. สำนักงานการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2542). การศึกษาครอบครัวไทย : ข้อคิดและแนวทางการศึกษา. ในชูศักดิ์วิทยภัค (บก.)วารสารสังคมศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1-21

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2554). การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

มลฤดี ลาพิมล และคณะ. (2551). วาทกรรมเรื่องเพศในหลักสูตรเพศศึกษาแนวใหม่ : มุมมอง การต่อรอง และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)

รพีพัฒน์ ศรีศิลารักษ์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ของนักศึกษาชายหญิงก่อนแต่งงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 7 ฉบับที่ 1, 13-23

วรพล พรหมิกบุตร. (2545). สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม แหล่งที่มา : http://sites.google.com/site/behaviorofchildren/home/phvtikrr. 15 พฤษภาคม 2564

วิยะดา ตันวัฒนากูล และคณะ (2547). ทัศนคติการครองคู่โดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสของนักศึกษาในเขตเมืองเชียงใหม่. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.

สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2550). ผู้หญิง ผู้ชาย และเพศวิถี: เพศภาวะศึกษาในงานมานุษยวิทยา.วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

สุชาติ โสมประยูร และวรรณี โสมประยูร. (2546). เพศศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.

สุชานันท์ ตาลเจริญธรรม. (2553). การใช้ชีวิตคู่ก่อนแต่งงานของนักศึกษาชายหญิงระดับอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โสพิน หมูแก้ว. (2544). อยู่ก่อนแต่ง : การอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อุทุมพร อินทจักร์. (2550). พลาด...ปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อมในสังคมไทย กรุงเทพฯ : สถาบันรามจิตติ

Nimanong Ngamprapasom. (2001). The first sexual intercourse of Thai men . Mahidol University Bangkok.

Sabaiying, M. (2009). Social perception and evolving sexual behavior and partner preference of

young people. In A. Chamratrithirong & D. Phuengsamran (Eds.), : The Era of ARV in the Generalised HIV Epidemic in Thailand: Research Approach (pp. 43-68). Nakhon Pathom : Institute for Population and Research, Mahidol University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27