ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครูหรือผู้ปฏิบัติการสอน ในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • สายสุดา คำสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวรี ฤกษ์จารี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประกฤติยา ทักษิโณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู 2) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูหรือผู้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งรับนักเรียนหลากหลายชาติพันธุ์เรียนร่วม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน ที่มีคะแนนความฉลาดทางวัฒนธรรมในระดับปานกลางและระดับต่ำ โดยสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู 2) แบบสอบถามความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การแปรปรวน และสถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู เพื่อพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมทั้ง 4 องค์ประกอบคือ แรงจูงใจทางวัฒนธรรม ความรู้ทางวัฒนธรรม อภิปัญญาทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมทางวัฒนธรรมตามแนวคิดของแวนดีนและคณะ (Van Dyne & et al., 2010) วิเคราะห์ร่วมกับการเปิดรับประสบการณ์ 3 ด้านคือ ด้านความเป็นอยู่ทั่วไป ด้านการเข้าสังคมและด้านการทำงานโดยใช้กิจกรรมแบบจำลองวัฒนธรรมเชิงประสบการณ์ (BAFA BAFA) และกิจกรรมความเป็นเลิศในการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและความเป็นผู้นำ (EXCELL) ผ่านสื่อห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom) ใช้เวลาอบรมกิจกรรมละ 1 ชั่วโมง 30 นาที มีทั้งหมด 8 กิจกรรม คือ 1) รู้คุณค่าพหุวัฒนธรรม 2) สร้างความมั่นใจทางวัฒนธรรม 3) พหุวัฒนธรรมน่ารู้ 4) ความรู้เฉพาะทางวัฒนธรรม 5) อภิปัญญาทางวัฒนธรรม 6) กลยุทธ์ทางวัฒนธรรม 7) วัจนภาษาและอวัจนภาษาทางวัฒนธรรม 8) วัจนกรรมทางวัฒนธรรม ผลการหาประสิทธิภาพของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู พบว่า การทดลองใช้กลุ่มตัวอย่างแบบรายบุคคลและกลุ่มเล็ก ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.59/81.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เท่ากับ 80/80
2. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเข้าอบรมโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครูสูงกว่าก่อนเข้าอบรมโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครูทั้ง 4 องค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .05 และปรับปรุงพัฒนาคู่มือการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของครู มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในความเหมาะสม เท่ากับ 4.18 อยู่ในระดับความเหมาะสมมาก

References

กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการเปิดรับประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบส่งผ่านพหุระดับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา.

จิรประภา อัครบวร. (2555). การศึกษาแนวโน้มงานทรัพยากรมนุษย์ พ.ศ. 2555-2556 (HR Trends 2012-2013), โครงการสนับสนุนงานวิจัยคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ประคอง กรรณสูต. (2528). สถิติเพื่อการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า จำกัด.

รสสุคนธ์ เนาวบุตร. (2557). แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นักเรียน นักศึกษา. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563, จาก https://catalog.moe.go.th/fa_IR/dataset/dataset_05_25660427

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ. พริกหวานกราฟฟิค.

Ang, S. & Van Dyne, L. (2008). Conceptualization of cultural intelligence: Definition, distinctiveness, and nomological network. In S. Ang & L. Van Dyne (Eds.), Handbook of cultural intelligence theory, measurement, and applications. Armonk, NY: M. E. Sharpe.

Betancourt, J. (2003). Cross-cultural medical education: Conceptual approaches and frameworks for evaluation. Academic Medicine, 78(6), 560–569.

Brick, C., McCully, S. N., Updegraff, J. A., Ehret, P. J., Areguin, M.A. & Sherman, D. K. (2015). Impact of cultural exposure and message framing on oral health behavior: exploring the role of message memory. Medical Decision Making, 36(7), 834-843.

Crowne, K. A. (2013). Cultural exposure, emotional intelligence, and cultural intelligence: An exploratory study. International Journal of Cross Cultural Management, 13(1), 5-22

Deng, L., & Gibson, P. (2008). A qualitative evaluation on the role of cultural intelligence in cross-cultural leadership effectiveness. International journal of leadership studies, 3(2), 181-197.

Earley, P. C., & Ang, S. (2003). Cultural intelligence: Individual interactions across cultures.

Gozzoli, C. & Gazzarroli, D. (2018). The Cultural Intelligence Scale (CQS): A Contribution to the Italian Validation. Frontiers in Psychology, 9(1183),1-8.

Griffin, B., & Hesketh, B. (2003). Adaptable behaviours for successful work and career adjustment. Australian Journal of psychology, 55(2), 65-73.

Lochbaum, M. R., Karoly, P., & Landers, D. M. (2002). Evidence for the importance of openness to experience on performance of a fluid intelligence task by physically active and inactive participants. Research Quarterly for Exercise and Sport, 73(4), 437-444.

Mak, A. S., Baker, M., Logan, G., & Millman, L. (1999). Benefits of cultural diversity for international and local students: Contributions from an experiential social learning program (The EXCELL Program). In D. Davis & A. Olsen (Eds.), International education: The professional edge. IDP Education Australia, 63-76.

Mak, A., & Kennedy, M. (2012). Internationalising the student experience: Preparing instructors to embed intercultural skills in the curriculum. Innovative Higher Education, 37, 323–334.

Patrick, H. A. & Ravindra, I. S. (2018). Expatriates’cultural Intelligence and Cross cultural adjustment. Adarsh Journal of Management Research, 11(1), 1-8.

Pidduck, R. J., Shaffer, M. A., Zhang, Y., Cheung, S. Y. & Yunlu, D. G. (2022). Cultural intelligence: An identity lens on the influence of cross-cultural experience. Journal of International Management, 28(3), 1-22.

Robinson, E. N. (2012). The relationship between teacher cultural competency and student engagement. Doctoral dissertation, University of Denver.

Roccas, S., Sagiv, L., Schwartz, S. H., & Knafo, A. (2002). The big five personality factors and personal values. Personality and social psychology bulletin, 28(6), 789-801.

Shirts, R. G. (1977). BaFa BaFa: A Cross culture Simulation, Del Mar, CA: Simile II (Simulation Training Systems).

Thomas, D. C. & Inkson, K. (2003). Cultural Intelligence: People skills for Global Business. San Francisco, CA: Berrett-Koehler.

UNESCO. (2007). Guidelines on intercultural education. Paris: UNESCO.

Van Dyne, L., Ang, S., & Livermore. (2010). Leading Across Difference: Case and Perspectives: Cultural Intelligence: A Pathway for Leading in a Rapidly Globalizing World. The United States of America.

Van Dyne, L., Ang, s., Ng, K. Y., Rockstuhl, T., Tan, M. L., Koh, C. (2012). Sub-Dimensions of the Four Factor Model of Cultural Intelligence: Expanding the Conceptualization and Measurement of Cultural Intelligence. Social and Personality Psychology Compass, 6(4), 295-313.

Westwood, M. J., Mak, A., Barker, M. & Ishiyama, F. I. (1999). Group procedures and applications for developing sociocultural competencies among immigrants. International Journal for the Advancement of Counselling, 22(4):317-330

Xu, X., Mar, R. A., & Peterson, J. B. (2013). Does cultural exposure partially explain the association between personality and political orientation?. Personality and social psychology bulletin, 39(11), 1497-1517.

Zhang, F. (2021). Can Cultural Intelligence’Be Developed?: A case study in the Taiwanese Context. Suthiparithat Journal, 35(3), 226-248.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27