การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยรูปแบบ GPAS 5 Steps ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, GPAS 5 Steps, การศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยรูปแบบ GPAS 5 Steps ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครูจำนวน 3,503 คน จาก 7 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดใกล้เคียง 3 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ลพบุรี และนครราชสีมา มีรูปแบบการวิจัยในลักษณะกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ เล่มหลักสูตร ประกอบด้วยโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตรฝึกอบรมครู และแบบวัดและประเมินผล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการทดสอบที (t-test dependent) โดยมีผลการวิจัยดังนี้
1. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ชื่อหลักสูตร 1) หลักการของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม 3) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรฝึกอบรม 4) โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตรฝึกอบรม 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผลของหลักสูตรฝึกอบรม โดยมีผลการประเมิน ความเหมาะสมระดับมาก (x̅ = 4.08 , S.D.= 0.25)
2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่า 2.1) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมครูสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ระดับความสามารถของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยรูปแบบ GPAS 5 Steps อยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ = 4.73,S.D. = 0.27) และ 2.3) สภาพการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังการเข้ารับการอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจนจากก่อนการอบรมส่วนใหญ่เป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้เชิงรับ (Passive Learning) และหลังการอบรมปรับเปลี่ยนเป็นเน้นการจัดการเรียนรู้รุก (Active Learning)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน, วิสูตร โพธิ์เงิน, เอกชัย ภูมิระรื่น และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนตามแนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ระดับชั้นปฐมวัย ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 8(2): 131-145.
ชลธาร ผ่องแผ้ว. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับ เทคนิค Think Talk Write ที่มีต่อมโนทัศน์และทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 21(2), 70-80.
ตวง อันทะไชย และคณะ. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อพัฒนาพหุปัญญาและสมรรถนะในศตวรรษที่ ๒๑ ขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ ๔.๐. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 334-349.
มารุต พัฒผล. (2562). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, และกรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2): 331-343.
ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช. (2559). ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2538). ทฤษฎีและการพัฒนาหลักสูตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). หลักสูตร. ในบรรณาธิการ., สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติ.
วีระวุฒิ สร้อยพลอย. (2561). ความคืบหน้าระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565, จาก https://www.dft.go.th/Portals/81.pdf สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อพัฒนาพหุปัญญาและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565, จาก https://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565, จาก https://www.chan1.net/story/1270
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2566). ต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://www.eeco.or.th/th
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565,จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
Peter F. Oliva. (1992). Developing Curriculum. New York: Harper Collins Publisher.
Ralph W. Tyler. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.
Saylor, J. G. & Alexander, W. M. (1974). Curriculum Planning for schools. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace Jovanovich.