การศึกษาการใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ รอดมั่นคง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ชุดการเรียนรู้, การรู้ดิจิทัล, ศตวรรษที่ 21, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนรู้ส่งเสริมการรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การรู้ดิจิทัลของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 ท่าน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และนักศึกษายินยอมในการเป็นกลุ่มตัวอย่างในการดำเนินการวิจัย จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (2) แบบวัดการรู้ดิจิทัล และ (3) แบบวัดความความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประกอบด้วย 3 ชุด คือ ชุดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล ชุดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ และชุดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ ผลการประเมินความเหมาะสมชุดการเรียนรู้ทั้ง 3 ชุดมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับการส่งเสริมความรู้เรื่อง การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ ซึ่งจำเป็นต่อการเรียนและการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์การรู้ดิจิทัลของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551). ชุดการเรียนการสอน. ในประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) หน่วยที่ 14. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). “การศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล ของนักศึกษาวิชาชีพครู”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2563) หน้า 106.

ธีริวััฒน์ รูปเหลี่ยม และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2561). “การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2561) หน้า 43-53.

ธณัฐชา รัตนพันธ์ (2565). “การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีผลต่อทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักศึกษาครุศาสตร์”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2565) หน้า 110-125.

นิอัลยา สาอุ และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2564). การพัฒนาการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล: กรอบสู่ SDGs Learning Development in Digital Era: Framework Toward SDGs. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 1 สิงหาคม 2564. จาก http:// tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559) หน้า 208.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). สมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). กรอบสมรรถนะดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

Best, J. W. (1981). Research in education. Englewood cliff: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27