ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ธนพล จูมแพง นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สุชาดา บุบผา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง; การบริหารสถานศึกษา; การบริหารโรงเรียนคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี จำนวน 368 คน เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ แบ่งเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารโรงเรียนคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัย

  1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ตามลำดับ
  2. ระดับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านประสิทธิภาพการสอนครู, ด้านสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้, ด้านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ตามลำดับ
  3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารโรงเรียนคุณภาพ มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01
  4. สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนคุณภาพได้ ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ

 = 1.255 + .227(X3) + .260(X4) + .148(X1) + .093(X2)

สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน

 = .298(X3) + .312(X4) + .220(X1) + .129(X2)

 

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง; การบริหารสถานศึกษา; การบริหารโรงเรียนคุณภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญชิญา ทองหัตถา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จรินทร์ ถาวรสิน. (2565). องค์ประกอบของสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด

สระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ชนปกรณ์ ภูกองชนะ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทพเนรมิตการพิมพ์.

ณฐวัฒน์ พระงาม. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

ทรงพล เจริญคํา. (2562). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ สำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7(2).

ทิวัตถ์ ศรีดำรงค์. (2556). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก THE SCHOOL ADMINISTRATION TO BE A QUALITY SCHOOL: THE GROUNDED THEORY APPROACH. วารสารการศึกษา มศว. 10(18).

นภัสพรพรรณ มนทอง. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์พร วงศ์อนุสิทธิ์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศรีรุ้ง ศรีสุวรรณ. (2565). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภนาฎ พิมพ์เงิน. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนจังหวัดเชียงราย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). โครงการโรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(1).

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. มหาสารคาม : โรงพิมพ์อภิชาตการพิมพ์.

สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อริสา อารมณ์ชื่น. (2565). กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลระดับประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อภิชัย ทำมาน. (2561). รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

อุษณีย์ สีแก้วตู้. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลที่ส่งผลต่อองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29