แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กษมา กวยทอง นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สุชาดา บุบผา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, วัฒนธรรมคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 2) หาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี การดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะคือ  ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี จำนวน 368 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความต้องการจำเป็นโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น  ระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า  1. สภาพปัจจุบันของวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ลำดับแรก คือ ด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพ รองลงมา คือ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ตามลำดับ  2. แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ประกอบด้วย 1) ด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพ จำนวน 4 แนวทาง 2) ด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 3 แนวทาง 3) ด้านการทำงานเป็นทีม จำนวน 4 แนวทาง และ 4) ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ จำนวน 3 แนวทาง

References

ชมพูนุช บุญมาวงษา. (2564). วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม.

ณัฐธิดา น้ำมนต์ดี. (2565). ภาวะผู้นำคุณภาพและความสำเร็จขององค์กร. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 19(37). 169-174.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2559). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

ปทุมกาญจน์ ทรงอาจ. (2566). แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(2), 285-298.

ปิยะมาศ วงศ์แสน. (2559). วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรสุดา ประเสริฐนู. (2564). การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชญา แสงทองทิพย์. (2565). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2), 53 – 67.

รมณธรณ์ นาเมือง. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 3(6) :164-174.

วรรณิษา กสิผล. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิรินา วาจาสัตย์. (2566). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14.

ศิริพงษ์ ตรัสศรี. (2564). แนวทางเสริมสร้างวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2558). วัฒนธรรม สร้างคน สร้างชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ต พลัส จำกัด.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี. (2565). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2564. คณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดอุดรธานี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. ราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.

สุเขตร์ ศรีบุญเรือง. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุธีรัตน์ อริเดช. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ. วารสารราชพฤกษ์. 12(2) : 30-37.

สุปวีย์ ศรีวันทนาสกุล. (2564). การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพและแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อภิสิทธิ์ พึ่งภพ. (2564). การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2), 65-80.

Batten, J.D. (1992). Building a Total Quality Culture. Menlo Park. CA: Crisp Publications.

Carless, S.A. (2004). Does Psychological Empowerment Mediate the Relationship Citizenship Behaviors: A Critical Review of The Theoretical and Empirical Literature and Suggestions for Future Research. Journal Management. 26(3), 115-159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29