กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล สำหรับห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการที่มีความจำเป็นในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี
การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากลสำหรับห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โดยมีประชากรในการศึกษา ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 6,179 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงระยะที่ 2 การหากระบวนการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) กระบวนการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสถานศึกษาท้องถิ่นสู่สากล ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ พบว่า ขั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดอย่างต่อเนื่อง ขั้นการพัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ขั้นการมอบอำนาจ การให้อำนาจอย่างกว้าง ๆ ขั้นการสื่อสารให้ผู้อื่น ขั้นการให้ความสำคัญกับผลงานที่ดี และวัฒนธรรมการทำงานแนวใหม่ ขั้นการสร้างความสำเร็จในระยะสั้น ก่อนนำไปสู่ชัยชนะที่ต้องการ ขั้นการสร้างสำนึกแห่งความเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลง ขั้นการริเริ่มในการนำการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ตามลำดับ
References
กาญจนา ธีระกุล. (2556). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษา อังกฤษ ปี 2564 – 2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2“GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาริชาติ สวัสดิ์ถึก. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนใน สังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(3). 207-224.
ประสิทธิ์ สตำ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนกลุ่ม เครือข่ายร่มโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัลลพ สุขพลาย. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 9(3). 66-76.
ภาระวี ศุขโรจน์. (2556). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4). 76-84.
ศรีจริน สิมมาลี. (2559). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพของโรงเรียนคาทอลิก. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13 (24), 1-13.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548, 9 ตุลาคม). ให้ใช้นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ วก 1065.
สิริพรรณ วัฒนวิชัย. (2556). แรงจงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สุนิสา คงสุวรรณ. (2561). การพัฒนาแบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12(3), 39-48.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.
อรรคพล สงวนยวง, เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล และกาญจนา บุญส่ง. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลง และสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 21(1). 178-203
Kotter, John P. (1996). Leading Change. Boston: Harvard Business Press.