ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติของสถานศึกษา ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การสถานศึกษา ด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต และด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถในการพัฒนาเจตคติทางบวก ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ด้านความสามารถในการปรับตัว ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .899 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ด้านที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับตามอำนาจการพยากรณ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติของสถานศึกษา ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การสถานศึกษา ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ และด้านการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต แสดงว่าภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ได้ร้อยละ 82.20 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
Y' = 0.183 + 0.355x2 + 0.207x1 + 0.183x5 + 0.177x4 + 0.103x6
Z'Y = 0.371x2 + 0.222x1 + 0.168x5 + 0.197x4 + 0.096x6
References
กิตติพร พรงาม. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
กรรณาภรณ์ พุฒชงค์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
แก้วเกสร อำสันเทียะ. (2562). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เจนจิรา บุญตามทัน. (2565, กรกฎาคม – ธันวาคม). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23 (2), 278 – 287
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพ: อมรการพิมพ์
ณัฎฐา เกียรติศิริกุล. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฏฐณิฐ รัตนพนังสกุล. (2566, เมษายน – มิถุนายน). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17 (2), 81 – 98
ณัฐศิษฏ์ จิตร์จำนงค์. (2566, มกราคม - กุมภาพันธ์). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารรัชติภาคย์. 17 (50), 361 – 375
ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ทศพล งามวุฒิชัย (2566, มิถุนายน). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10 (6), 266 – 276.
นงลักษ์ จันหงษา. (2561, กรกฎาคม – ธันวาคม). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9 (2), 46 – 65
นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด
นพวรรณ บุญเจริญสุข. (2561, พฤษภาคม - สิงหาคม). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. 10 (2), 273 – 291
นลินี ณ นคร รักธรรม. (2565, พฤษภาคม - สิงหาคม). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 24 (2), 171 – 180
บัวชมภู ภูกองไชย. (2563, กันยายน – ธันวาคม). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ : การบริหารเทคโนโลยี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 14 (3), 237 – 244
ปฐมพร มณีวรรณ (2566, มกราคม – มิถุนายน). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 10 (1), 18 – 38.
ปรียกร อรุณจินดาตระกูล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระอธิการบุญช่วย โชติว์โส. (2563). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. ขอนแก่น: เอมี่ ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์
พระเมธีธรรมาจารย์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัทนำทิพย์ทัวร์
ภณธศร ปุ๊ดหน่อย. (2565, กันยายน). การคิดเชิงกลยุทธ์ : แนวคิด และกระบวนการบ่มเพาะเชิงสมรรถนะ. Journal of modern learning development. 7 (8), 340 – 353
มัทนิตา คงช่วย. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วรวรรษ เทียมสุวรรณ. (2562, พฤษภาคม – สิงหาคม). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 15 (2). 219 – 231.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2566). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารการศึกษา (ปรับปรุงครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สุชาวลี ทองโพธิ์ใหญ่. (2566, มกราคม - มีนาคม). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. Journal of buddhist education and research : JBER. 9 (1), 1 – 14
สุทธิพงษ์ อันทรบุตร. (2564, มกราคม – เมษายน). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 15 (1), 1 – 15
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. (2565, ตุลาคม). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. วันที่ 2 ตุลาคม 2561.
อัญชุลีภรณ์ คำภิระ. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุสรณ์ สุทธหลวง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
อรุณี อัตกลับ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Yukl, Gary. (2013). Leadership in Organizations. 10 th ed., (New York: Courier Stoughton
Krejcie, Robert V. & Dargle, Morgan W. (1970). Educational and Psychological Measurement Determinig Sample Size For Resaerch Activitiec. 30 (3): 607 – 608
Cynthia Young Wren. (1996). Work Motivation and Perceived Organizational Effectiveness in Middle Schools. Southeastern Louisiana University
Hoy A. W. and Miskel. (2008). Educational Administration: Theory Research And Practice. New York. McGraw – Hill.
Likert, Rensis. (1967). Management Styles And The Human Component. Ledership on the job: Guides to Good Supervision. New York: AMACOM
Paul E. Mott. (1972). The Characteristics of Effective Organization, New York: Harper and Row
Richard L. Morrill, (2007). STRATEGIC LEADERSHIP. Estover Road, Plymouth PL6 7PY, United Kingdom