ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยสำหรับ ชาวต่างประเทศ และความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาจีนในโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์กับมหาวิทยาลัยครูฉวี่จิ้ง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ความมุ่งหวัง, การประกอบอาชีพบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 3) สำรวจความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษา ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ เพื่อนำสารสนเทศไปใช้ปรับปรุงหลักสูตร ในการจัดเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องกับความต้องการอาชีพของผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาจีนชั้นปีที่ 1– 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.09, S.D. = 0.85) 2) นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.17, S.D. = 0.74) 3) นักศึกษามีความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ พบว่าความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพของนักศึกษาในระดับมากที่สุด คือ นักแปลภาษา (ล่าม) รองลงมา คือผู้ประกอบการธุรกิจระหว่างจีน - ไทย เลขานุการ นักการตลาด นักบัญชี นักประชาสัมพันธ์ ครูสอนภาษาจีนในประเทศไทย ครูสอนภาษาไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน และอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ตามลำดับ
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2566, 24 สิงหาคม). จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาต่างชาติ ปี 2565 (ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2564) จำแนกตามสัญชาติ ประเภทสถาบัน ชื่อสถาบัน ชื่อหลักสูตร ระดับการศึกษา และเพศ. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567. จาก https://info.mhesi.go.th/stat_graduate.php?search_year=2565
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567. จาก https://www.moe.go.th/แผนการศึกษาแห่งชาติ-พ.ศ-2560/
กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และกรองจันทร์ จันทรพาหา. (2564). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=313#
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2561, มกราคม-มิถุนายน). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(1), 1-10. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567. จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/ article/view/138468/102925
วรี เรืองสุข. (2562). รายงานการวิจัยการปรับกลยุทธ์เพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศในศตวรรษ ที่ 21 : ทิศทาง แนวโน้มและความต้องการของผู้ประกอบการค้าระหว่าง ไทย – จีน ตามโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ระหว่างไทย - จีน (NRCT-CASS). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ Chinese Academy of Social Sciences (CASS).
ศิรินทิพย์ เทพวงษ์, ศศิกานต์ ไชยทิพย์ และธนาชัย หัศกรรจ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(1), 39-56. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2567 จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ JMSSNRU/article/view/984
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika Journal, 16(3), 297-334.
Rovinelli, R. J. (1976). Methods for Validating Criterion-Referenced Test Items. Unpublished Doctoral Dissertation. University of Massachusetts Amherst.
Yanqing Ping. (2563, 13 สิงหาคม). “ผู้อพยพทางการศึกษา”: การเคลื่อนย้ายรูปแบบใหม่ของครอบครัวชาวจีนกรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. หน้า 2070-2080. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.