การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครูในพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ฉะเชิงเทราสู่การยกระดับคุณภาพโรงเรียนด้านวิชาชีพและวิชาการ
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครู, การยกระดับคุณภาพโรงเรียน, วิชาชีพและวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครู 2) พัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูที่สอดคล้องกับความต้องการกับบริบทเมืองแห่งการเรียนรู้ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครูที่สอดคล้องกับบริบทเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยดำเนินการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครู โดยการวิจัยเอกสาร และการจัดประชุมกลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสำนักเงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน ครูผู้สอนในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การพัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการกับบริบทเมืองแห่งการเรียนรู้ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ ระยะที่ 3 การศึกษาและประเมินแนวทางการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครูที่สอดคล้องกับบริบทเมืองแห่งการเรียนรู้ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แนวทางการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครูที่เกิดจากการวิเคราะห์สภาพความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1) การวางแผนและออกแบบแพลตฟอร์ม 2) การสร้างเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ 3) การฝึกอบรมและการสนับสนุน 4) การประเมินผลและปรับปรุง ผ่านระบบการบริหารจัดการแพลตฟอร์ม 3 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาบุคลากรครู 2) ระบบการเรียนการสอน ติดตามและประเมินผลแบบผสมผสาน และ 3) ระบบสื่อสาร 2. ผลการพัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างสมรรถนะครูทำให้เกิดหลักสูตรฝึกอบรม Non-Degree “การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา” จำนวน 9 หน่วยกิต รวมเวลาเรียน 285 ชั่วโมง มีผลการตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตรระดับมากที่สุด (x̄ = 4.66, S.D. = 0.52) 3. ผลการประเมินความเหมาะสมแนวทางการบริหารจัดการแพลตฟอร์มการพัฒนาครู ผ่านระบบสารสนเทศการพัฒนาครู ระบบการจัดการเรียนรู้ ติดตามและประเมินผลแบบผสมผสาน ระบบสื่อสาร และการใช้งานระบบแพลตฟอร์มการพัฒนาครู อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.68, S.D. = 0.62) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ทุกรายการมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด
References
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0.กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการพัฒนาระบบการเรียนรู้สำหรับครูในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). นวัตกรรมการจัดการศึกษาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2566). ต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://www.eeco.or.th/th
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue
Bates, A. W. (2019). Teaching in a Digital Age. Tony Bates Associates Ltd.
Bifet, A., Frank, E., & Holmes, G. (2011). Sentiment Analysis: A Combined Approach. In Proceedings of the 21st International Joint Conference on Artificial Intelligence (IJCAI-09), 2009.
Brown, A., & Green, T. (2019). Comprehensive Data Collection in Evaluation and Improvement Strategies. London, UK: Routledge.
Campbell, J., & Lee, Y. (2021). Effective Support and Training Strategies for Teacher Development Platforms. New York, NY: Springer.
Chen, L., Hsu, C., & Shih, H. (2012). Big Data Analytics and Business Intelligence: How to Deliver Business Value and Improve Business Performance. Wiley.
Davis, H., & Lee, P. (2021). Multimodal Learning Approaches for Educator Training. London, UK: Routledge.
Ertmer, P. A., & Ottenbreit-Leftwich, A. T. (2010). Teacher Technology Integration: Professional Development and Support. Educational Technology Research and Development, 58(3), pp. 255-267.
Few, S. (2006). Information Dashboard Design: The Effective Visual Communication of Data. O'Reilly Media.
Gonzalez, R., & Smith, E. (2020). Integrating Technology in Classroom Management: Best Practices for Teachers. London, UK: Sage Publications.
Gonzalez, R., & Smith, E. (2020). Technological Advancements in Teacher Support Systems. London, UK: Sage Publications.
Guskey, T. R. (2002). Professional Development and Teacher Change. Teachers and Teaching: Theory and Practice, 8(3), pp.381-391.
Harvard Graduate School of Education. (2021). Designing Effective Digital Learning Platforms: Key Considerations. Harvard University Press.
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK)? Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 9(1), pp.60-70.
Krug, S. (2014). Don't Make Me Think: A Common Sense Approach to Web Usability. New Riders.
Learning Policy Institute. (2017). Professional Development for Educators: Content Creation and Implementation. Palo Alto, CA: Learning Policy Institute.
Mirkovic, J., & Reiher, P. (2004). Internet Denial of Service: Attack and Defense Mechanisms. NJ: Prentice Hall.
National Education Association. (2020). Supporting Teachers in the Digital Age: A Guide for Education Leaders. Washington, D.C.: National Education Association.
O'Brien, J. A., & Marakas, G. M. (2011). Management Information Systems. NY: McGraw-Hill.
Parker, D., & Harris, M. (2020). Technical Support and Training for Evolving Teacher Platforms. New York, NY: McGraw-Hill.
Schneier, B. (1996). Secrets and Lies: Digital Security in a Networked World. Wiley.
Smith, R., & Jones, L. (2018). Research-Based Methods for Creating Teacher Development Content. Boston, MA: Pearson.
Sousa, D. A., & Tomlinson, C. A. (2018). Differentiation and the Brain: How Neuroscience Supports the Learner-Friendly Classroom. Solution Tree Press.
Stallings, W. (2016). Computer Security: Principles and Practice. Pearson.
Tomlinson, C. A. (2001). How to differentiate instruction in mixed-ability classrooms (2nd ed.). ASCD.
Tomlinson, C. A. (2014). The Differentiated Classroom: Responding to the Needs of All Learners. Alexandria, VA: ASCD.
Walker, G. E. (2008). The formation of scholars: Rethinking doctoral education for the twenty-first century. SF : Jossey-Bass.
Wilson, M., & Stevens, J. (2020). Adapting Training Programs for Diverse Teacher Needs. New York, NY: Wiley.
Zhou, M., Li, X., & Li, X. (2010). A Novel Approach for Privacy Protection in Cloud Computing. Proceedings of the International Conference on Cloud Computing Technology and Science.