ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก

ผู้แต่ง

  • จักรพันธุ์ จันทร์เจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, บทบาทการนิเทศภายใน, ยุคไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา 2) หาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูยุคไทยแลนด์ 4.0 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก จำนวน 162 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้จังหวัดที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ  แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และตอนที่ 2 แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูยุคไทยแลนด์ 4.0 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกระดับสูงกับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). แนวทางการนิเทศช่วยเหลือโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติชัย แสงสว่าง และ พรเทพ รู้แผน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 9(1):197 -212.

ฉวีวรรณ คำสี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงค์นุช จอมเกาะ. (2563). การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอสีคิ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 "สู่วิถีใหม่ ด้วยวิจัยทางสุขภาพและการบริการ".

นิภาวรรณ์ ศิริ. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย และพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

นวรัตน์ อายุยืน. (2561). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

นพรัตน์ มีศรี และ อมรินทร์เทวตา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11(2),21-30.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ญาณี ญาณะโส. (2562). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิชาการล้านนาเพื่อการศึกษาและพัฒนายุค 4.0 ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11(2), 2363-2380.

เมธินี สะไร. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหพัฒนา อำเภอรือเสาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

รุ่งอรุณ สุขศรีวงษ์ และ กฤษฎา วัฒนศักดิ์. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา. 3(1),1-15.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในหัวใจปฏิรูปการณ์เรียนรู้ในโรงเรียน. วิชาการ. 5(8) : 25-28.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (2560). แนวทางการขับเคลื่อน PLC สู่การพัฒนา คุณภาพผู้เรียนThailand 4.0 สพม.17. จันทบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17.

Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Management, 30(3), p. 608.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale” in Attitude Theory and Measurement. New York : Wiley & Son. P.90-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31