ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชากร ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ภณิชชา จงสุภางค์กุล คณะวิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี
  • ธนากร ก้อนทอง คณะวิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, การป้องกันโรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชากร ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชากร ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชากร ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 138 คน และผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม กรณีข้อมูลสูญหาย 5 % จึงเก็บข้อมูลครั้งนี้ทั้งหมด 145 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันโรคไข้เลือดออก และส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบและแบบประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์นสัน (Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient)

            ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ  ด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ ด้านการจัดการเงื่อนไขทางด้านสุขภาพของตนเอง  ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในระดับดีมาก  ระดับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง (x̄  = 4.29, S.D. 0.55)  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับสูง (r=0.717, P – value = 0.000)

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ไข้เด็งกี่ (Dengue). สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2566 จาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). การป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566. จาก https://rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/29062023-041216-9222.pdf

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2566). สถานการณ์โรคติดต่อจังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2566. จาก https://rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/29062023-041216-9222.pdf

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2564. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2566. จาก https://utoapp.moph.go.th/e_doc/views/uploads/644b3ffaa73ec-b3e5eaf25e5abb5b193565c837cbbdf4-1450.pdf.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพ : กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(ฉบับพิเศษ), 1 – 11.

ดนัย เนวะมาตย์. (2020). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกของประชาชนในจังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 7(1), 84 - 94

พลภัทร เครือคำ และรชานนท์ ง่วนใจรัก. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของครัวเรือนในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16(1), 39-51.

พิชยารัตน์ จันทร์เพ็ญ, อลิสา นิติธรรม และณัฐกฤตา ศิริโสภณ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก. 23(2), 78 – 87.

ภาวิณี มนตรี, กาญจนา คงศักดิ์ตระกูล, ศุภรดา มณฑาทิพย์, ยุทธนา กลิ่นจันทร์ และทรรศน์พร ไหมสมบุญ. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี, วารสารควบคุมโรค 2564, 47(2)

วิษณุ อนิลบล และกฤตภิษัย ไม้ทองงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันและ ควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยยุงลายของประชาชน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการ. 26(2), 62-71.

สุภาพ หวังข้อกลาง. (2564). ความรู้ ทํศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน บ้านเทพทักษิณ ตำบลหนองแวง อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 36(2), 91 – 99.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Bloom, Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Health Data Center. (2566). กลุ่มรายงานมาตรฐาน. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566. จาก https://hdcservice.moph.go.th/

Nutbeam D. (2009). Defining and measuring Health literacy: what can we learn from literacy studies?. Int. J. Public Health.; 54, 303-5.

World Health Organization. (2019). Dengue and severe dengue case management. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566. จาก Available from: https://www.who.int/health-topics/dengue-and-severe-dengue#tab=tab_3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31