การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารงานวิชาการ; คุณภาพผู้เรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการตอบแบบสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 105 คน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยนำผลจากการศึกษาขั้นตอนที่ 1 มากำหนดกรอบแนวคิดในการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ประชุมสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 คน และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบและคู่มือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยการตอบแบบสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 109 คน 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลที่ปรากฏต่อนักเรียนเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,394 คน และความพึงพอใจของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 771 คน โดยการเทียบจากตารางของเครซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 พบว่าปัญหาด้านการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 2) การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3. ผลทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2566 พบว่าผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล ด้านล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก บรรลุผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 77.62 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 97.62 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่า ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาสังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ นักเรียนได้รับรางวัลเป็นที่ประจักษ์ในการแข่งขันระดับนานาชาติ/ระดับประเทศ/จังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 135 รายการ และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน พบว่าครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กานดา เข็มศร. (2559). แนวทางพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์ รังสรรค ์ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
จีรวัฒน์ ภู่อาบทอง. (2563). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(3), 1-15.
ชุติมา จันทร์ประเสริฐ และคณะ. (2564). รูปแบบความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(4), 45-58.
ฐาปนันท์ กันยา และพรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ. (2558). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 123-135.
นัฐรียา ฉัตรรักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิตยา เทพอรุณรัตน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทวัน แจ้งสุข. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บรรเจิด สระปัญญา (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ตามแนวทาง LKS SMART School Model โดยใช้การจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี. วารสารปัญญา, 26(1), 45-59.
เบญจนารถ อมรประสิทธิ์. (2557). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประเสริฐ สำเภารอด. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(2), 123-135.
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2. (2565). รายงานผลการประเมินตนองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR). ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 (เอกสารอัดสำเนา).
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610