การพัฒนาชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้
สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
1ธันย์ศรุต กลีบสมุทร วงศ์วิทูรสมุทร
2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิติ ปัญญาอินทร์
3อาจารย์ ดร.ธนพล ตีรชาติ
สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
E-mail : Keetasilpanusorn@gmail.com
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกและวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านอีสานใต้เพื่อนำมาพัฒนาเป็นชุดฝึกทักษะ
วงโยธวาทิต และนำไปประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ด้านวงโยธวาทิต และด้านการเรียนการสอนวงโยธวาทิต จำนวน 21 ท่าน
ผลการวิจัย พบว่า ชุดฝึกทักษะวงโยธวาทิตโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสานใต้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งมีจำนวน
5 ชุด คือ ชุดฝึกทักษะที่ 1 จังหวะ (Rhythmic Pattern) ชุดฝึกทักษะที่ 2 ลักษณะการควบคุมเสียง(Articulation) ชุดฝึกทักษะที่ 3 การบรรเลงตามเครื่องหมายแปลงเสียง (Accidental) ชุดฝึกทักษะที่ 4 บทเพลงรวมวงแบบสั้น (Choral) และชุดฝึกทักษะที่ 5 บทเพลงรวมวงแบบยาว (Music Ensemble) ซึ่งจากการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีผลการประเมิน
อยู่ในระดับมาก (4.36)
Article Details
References
ขำคม พรประสิทธิ์ (2550). รายงานวิจัย เรื่อง วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทย ภาคอีสานใต้ และภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาคริต สายลือนาม. (2562). กิจกรรมเสริมทักษะการบรรเลงรวมวงของวงโยธวาทิตโรงเรียน
พระแม่มารี โดยใช้ระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. (หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น.
บุษกร สำโรงทอง (2549). รายงานวิจัย เรื่อง วัฒนธรรมกดนตรีไทย ภาคกลางและภาคอีสานใต้ พิธีกรรม และความเชื่อที่ เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณัชชา พันธุ์เจริญ (2560). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เกศกะรัต
ณัชชา พันธุ์เจริญ (2563). ทฤษฎีดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เกศกะรัต
สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา. (2559). แนวทางการจัดประกวดวงโยธวาทิต. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ท กราฟฟิค ดีไซน์.
อัครวัฒน์ เชื่อมกลาง. (2562, 31 พฤษภาคม). "การเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพื้นบ้านอีสานในรูปแบบดนตรีคลาสสิก สำหรับวงแชมเบอร์”. วารสารช่อพะยอม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 30 (62): 227 - 240.