แนวคิดการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งในรูปแบบคอนเสิร์ตมาร์ช สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทเพลงไทยลูกทุ่งเป็นบทเพลงที่มามาอย่างช้านาน โดยมีการอนุรักษ์ไว้เพื่อไม่ให้สูญหายในวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเสียงซ้ำ การนำมาดัดแปลงในรูปแบบแนวดนตรีอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งมีการเรียบเรียงเสียงประสานในรูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวงดนตรีที่ผู้เรียบเรียงเสียงประสานต้องการสื่อสาร และผลิตดนตรีออกมาในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งยังคงคำร้อง และทำนองเดิมไว้ เพื่อเป็นการให้เกียรติกับเจ้าของผลงาน และอนุรักษ์ไว้เพื่อคนรุ่นหลังได้สืบสานวัฒนธรรมของไทย
ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งในรูปแบบคอนเสิร์ตมาร์ช สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม โดยใช้บทเพลงไทยลูกทุ่งทั้งหมด 4 บทเพลงเป็นหลัก คือ 1. เพลงสามสิบยังแจ๋ว
2. เพลงแต่งงานกันเถอะ 3. เพลงโบว์แดงแสลงใจ 4. เพลงที่รัก เรารักกันไม่ได้ ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอใน
ชื่อบทเพลงว่า “มาร์ขลูกทุ่ง” จำนวน 9 ท่อน 105 ห้องเพลง เวลาโดยประมาณ 3 นาที 30 วินาที โดยใช้ฟอร์มเพลงในรูปแบบมาร์ช และใช้เทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานให้บทเพลงน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเพื่อความสุนทรีย์ และนำเสนอแนวคิดใหม่ในการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่ง
Article Details
References
ธนะรัชต์ อนุกูล. (2560, 31 ธันวาคม). การออกแบบเสียงในการแสดงเพลงลูกทุ่ง. วารสารดนตรีและ
การแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา. 31 (60) : 89.
ภูษิต สุวรรณมณี. (2557). การพัฒนาบทเพลงพื้นบ้านไทยสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม. วิทยานิพนธ์ ดศ.ม (สังคีตวิจัยและพัฒนา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิรัตน์ เลี้ยงสมบูรณ์. (2541). การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์ จำกัด
วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ. (โน้ตเพลงสำหรับ Flexible Ensemble. 2563. มาร์ชเจ้าพระยา. โน้ตเพลง)
________. (โน้ตเพลงสำหรับ Wind Ensemble. 2563. เซนเซย์มาร์ช. โน้ตเพลง
สุรพล วิรุฬรักษ์. (2565). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับที่ 33. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :
สำนักงานอาคารมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยฯ.
American Band College of Central Washington University. (2004). American Band College
Grading Chart. [Online] https://www.bandworld.org/pdfs/GradingChart.pdf