แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ บุคคลผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนหรือผู้ควบคุมวงโยธวาทิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ โดยนำข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ มีดังนี้ 1)ด้านกระบวนการบริหารจัดการวงโยธวาทิต ควรพัฒนาหลักสูตร จัดทำหลักสูตรห้องเรียนพิเศษดนตรี ให้วิชาดนตรีเป็นทั้งวิชาหลักและวิชาเพิ่มเติมให้เป็นวิชาที่มีคุณภาพ 2)ด้านการจัดกิจกรรมวงโยธวาทิต ควรมีครูและบุคลากรทางดนตรีที่เพียงพอ ลดภาระงานด้านอื่น ๆ ของครูผู้สอน 3)ด้านวัสดุอุปกรณ์ ควรจะต้องมีเครื่องดนตรีเพียงพอต่อการใช้งานและการฝึกซ้อมของนักดนตรี 4)ด้านกระบวนการฝึกซ้อม ควรมีห้องเรียนและห้องซ้อมดนตรีที่เหมาะสมและสามารถเก็บเสียงได้ 5)ด้านการสนับสนุนงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมวงโยธวาทิต
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงรบ ขุนสงคราม. (2563). การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติเครื่องลมของนักเรียนวงโยธวาทิต โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคมจังหวัดบุรีรัมย์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นันทวรรณ หัสดี. (2556). ความต้องการอาคารสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนคนตรีของครู ดนตรีโครงการโรงเรียนหลักสูตรการคนศรีกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.
(สาขาดนตรี). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของ โคดาย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: สำนักหอสมุดกลาง
พรสวรรค์ จันทะวงค์. (2556). การจัดการวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่. สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พรสวรรค์ มณีทอง. (2559). การศึกษาเชิงปฏิบัติการด้านการฝึกซ้อมวงโยธวาทิตโดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของวงโยธวาทิตในเขตเทศบาลนครลำปาง. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิมพ์พิศ เพิ่มพูน. (2555). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีระดับประถมศึกษา ตามแนวของโรงเรียนนานาชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สาขา การศึกษาและการสอน). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รติรส จันทร์สมดี. (2551). ภาวะความเป็นผู้นำของวาทยกรและการสื่อสารจัดการ วงโยธวาทิต ในสถานศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (สาขาวิชาวาทวิทยา). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชาติ อยู่สุข. (2564). สภาพและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดนตรีของโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สาขาวิชา ดนตรีศึกษา). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
เอื้อมเดือน ตั้งเจริญถาวร. (2557). การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทางการศึกษา. 9(1) : 53 - 64.