ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่างในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุธีรา เดชนครินทร์
  • อัคญาณ อารยะญาณ

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2021.5

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วม, คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว, ความต้องการของชุมชน, ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่าง

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่างในจังหวัดสงขลา จำนวน 3 แหล่ง ประกอบด้วย ตลาดน้ำคลองแห วัดคูเต่า และวัดนารังนก ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และแบบบังเอิญจากแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจำนวนแหล่งละ 60 คน โดยผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 180 คน เป็นตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนในชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาครั้งนี้ค้นพบว่า ความต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยความต้องการสูงที่สุด ตามมาด้วยด้านกิจกรรมและกระบวนการ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วม ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาตามแหล่งท่องเที่ยวในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่าง ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวต่างกันมีความต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแตกต่างกัน ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับหน่วยงานของรัฐ หรือผู้กำหนดนโยบายในการจัดสรรงบประมาณไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

References

กัลยา สว่างคง. (2558). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในมุมมองของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 10-25.

จามจุรี ศรีชูโฉม, ปุณยวีร์ ศรีรัตน์, และนิภาพร แซ่เจ่น. (2558). การศึกษาความพร้อมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษาอุทยานบ่อน้ำร้อน ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 35(3), 91-114.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำนงชอบ, และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). แนวทางการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านริมคลอง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(2), 21-38.

ณัฏฐินี ทองดี. (2560). ความพอเพียง: ฐานคิดการรักษามรดกทางวัฒนธรรมในภาคอีสานสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(1), 35-58.

นราวดี บัวขวัญ. (2556). รูปแบบการจัดการตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา ตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.]

ทิพาพร ไตรบรรณ์. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา หมู่บ้านอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.]

เทศบาลเมืองคลองแห. (2562). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558-2560). http://www.klonghaecity.go.th/files/com_strategy/2019-02_2243a0003545091.pdf

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใบเฟิร์น วงษ์บัวงาม และมุขสุดา พูลสวัสดิ์. (2556). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โครงการที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปฐม หงส์สุวรรณ และกรรณิการ์ สุพิชญ์. (2560). แผนงานการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อีสานตอนกลาง: กรณีจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปิ่นฤทัย คงทอง และสุวารี นามวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(2), 1-32.

ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์. (2557). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน บ้านหัวนอนวัด ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.]

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และภาคภูมิ ภัควิภาส. (2556). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าเพื่อความยั่งยืน. Journal of Community Development Research, 6(1), 42-60.

ศิริจรรยา ประพฤติกิจ. (2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดตราด เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. [ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.]

สมาพร คล้ายวิเชียร, เกษสุดา บูรณพันศักดิ์, และกัญธิมา นาคินชาติ. (2550). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างในอีสานใต้. รายงานการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโดน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.]

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2559 (ในรอบปี 2558). สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2560 (ในรอบปี 2559). สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อดิศร ศักดิ์สูง และวรุตม์ นาที. (2559). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม. (2562). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2558-2560). http://maetom.go.th/content/information.pdf

อารยา อินคชสาร. (2554). การประเมินศักยภาพของตลาดน้ำวัดกลางคูเวียงเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.]

Aref, F., Gill, S. S., & Aref, F. (2010). Tourism development in local communities: As a community development approach. Journal of American Science, 6(2), 155-161.

Haukeland, J. V. (2011). Tourism stakeholders’ perceptions of national park management in Norway. Journal of Sustainable Tourism, 19, 133-153.

Muganda, M., Sirima, A., & Ezra, P. M. (2013). The role of local communities in tourism development: Grassroots perspectives from Tanzania. Journal of Human Ecology, 41(1), 53-66.

Seyfi, S., Hall, C. M., & Rasoolimanesh, M. (2019). Exploring Memorable Cultural Tourism Experiences. Journal of Heritage Tourism. https://doi.org/10.1080/1743873X.2019.1639717

Urosevic, N. (2012). Cultural identity and cultural tourism – between the local and the global. Singidunum Journal, 9(1), 67-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-26

How to Cite

เดชนครินทร์ ส., & อารยะญาณ อ. (2021). ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่างในจังหวัดสงขลา. Maejo Business Review, 3(1), 74–90. https://doi.org/10.14456/mjba.2021.5