ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2021.10คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ, สตรีมุสลิม, เสื้อผ้าแฟชั่น, ส่วนประสมทางการตลาดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิม 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิม และ 3) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดของเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิม และการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิม อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของสตรีมุสลิมในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
References
กนกวรรณ ตั้งจินตวิวัฒน์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าของนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.]
กนกวรรณ วิโรจน์. (2553). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.]
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2559). เกร็ดน่ารู้ตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมโลก. DITP ชี้ช่องการค้าขับเคลื่อนการค้าไทยสู่ตลาดโลก. 5(53), 14.
กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2563, พฤศจิกายน 17). เครื่องแต่งกายมุสลิม. http://www.dip.go.th
กฤษดา หยกอุบล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการเตรียมดินของเกษตรกรในเขตอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.]
คมกฤษ กล่อมเกลี้ยง. (2555). แฟชั่นมุสลิมชายแดนใต้ เคร่งครัด สวยงาม และตามเทรนด์. ชูสมิแล. 33(1), 35-41.
ฉัตยาพร เสมอใจ และฐิตินันท์ วารีวนิช. (2551). หลักการตลาด. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐา ฉางชูโต. (2555). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2563). เกร็ดน่ารู้ตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมโลก. http://www.thealami.com/main/content.php?page=&category=2&id=1735
ปาณิศรา สิริเอกศาสตร์. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาเส้นของผู้บริโภค. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.]
ภัทรานิษฐ์ ฉายสุวรรณคีรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.]
มารียา ยิ่งวัฒนไกร. (2555). ฮิญาบในบัญญัติอิสลาม ศึกษาทัศนะของนักวิชาการอิสลาม และนักศึกษามุสลิมะฮ์ในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสนาเปรียบเทียบ), มหาวิทยาลัยมหิดล.]
รมย์นลิน จันทร์ต๊ะวงค์ (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าพรีเมียมแบรนด์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.]
รัตนาวดี ศิริทองถาวร. (2546). การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรซซารี มาฮะ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องแต่งกายสตรีมุสลิม กรณีศึกษาผู้บริโภคในเขตอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.]
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 23). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชาติ เอี่ยมรัตนกุล. (2557). หลักการตลาด Principles of marketing. แสงดาว.
สคต. แฟรงก์เฟิร์ต. (2561, มกราคม 29 - กุมภาพันธ์ 2). ตลาดเสื้อผ้าสำหรับชาวมุสลิมกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง. https://www.ditp.go.th/contents_attach/215573/215573.pdf
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การตลาดจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิชัย พิทักษ์พงศ์ และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2363). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ามือสองแบรนด์เนมทางเฟซบุ๊ก. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 3(2), 103-117.
สิริชัย ดีเลิศ และ สุภาวดี รัตนพงศ์พันธ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะกลุ่ม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2404-2424.
เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. ธรรมสาร.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
หทัยทิพย์ แดงปทิว. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อผิวขาวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.]
อรรถการ สัตยพาณิชย์. (2557). การสื่อสารการตลาดครบไลน์: Branded IMC & Customer Engagement. Brandagebooks.
อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า แฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์(เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.]
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). John Wiley & Sons.
DJ. (2559, เมษายน). เทรนด์ตลาดแฟชั่นมุสลิม. หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. 14(4821), B3.
Economic Intelligence Center. (2015, June 4). tala t sưapha Mutsalim [Muslim Clothing Market]. Accessed May 2nd, 2018. https://www.scbeic.com/th/detail/product/1364
Greedisgoods. (2017, December 10). สูตร Taro Yamane สำหรับคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง. https://greedisgoods.com/taro-yamane/
Khotradha, D. (2017). Direction for creating fashion and lifestyle brands for the mini-bar market: The creation of a ready-to-wear brand for the mini-fashion-bar market in Thailand. Veridian E-Journal International Humanities, Social Sciences and Arts. 10(5), 282.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed). Prentice–Hall.