การตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคาย โดยอาศัยความพึงพอใจ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2021.4คำสำคัญ:
การตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคาย, การตัดสินใจซื้อ, ความพึงพอใจ, สื่อสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
บทความการวิจัยนี้ ศึกษาเรื่องการตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคาย โดยอาศัยความพึงพอใจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคายส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค เพื่อศึกษารูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคายส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคายกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบตอบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคายแต่ละรูปแบบ สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อได้ โดยรูปแบบการโน้มน้าวใจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบสร้างแรงบันดาลใจ รูปแบบการให้ความรู้ และรูปแบบสนุกสนาน ตามลำดับ กล่าวได้ว่า การตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคาย ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยต้องอาศัยความพึงพอใจ การศึกษาบทความวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคายมีประโยชน์ต่อธุรกิจและนักการตลาดเพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจในการสร้างความพึงพอใจจนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
References
กุลชาติ ศรีโพธิ์. (2548). การสื่อสารผ่านการแปลคำสบถ และคำหยาบคายในภาพยนตร์ต่างประเทศ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แก้วขวัญ ผดุงพิพัฒน์บวร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์ มือถือของธนาคารกรุงไทย (KTB Netbank). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คะนึงนิจ ขาวแสง. (2563). การละเมิดลิขสิทธิ์ในเนื้อหาของวิดีโอเกมในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 49(4), 754-787.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. วี พริ้นท์.
ธวัชชัย สุวรรณสาร. (2557,ธันวาคม). กลยุทธ์ AIDA เพื่อดึงความสนใจลูกค้าสนใจในโฆษณาของคุณ. Coachtawatchai. http://www.coachtawatchai.org/2014/12/aida.html
ธาวินี เนียมนาค. (2561). การศึกษาการสร้างสรรค์เนื้อหาเชิงท่องเที่ยวประเภทคู่รัก ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจ กรณีศึกษา: Facebook Fanpage ไปกันนะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปั้นแบรนด์ด้วย Content Marketing. (2557, พฤษภาคม 29). Positioning. https://positioningmag.com/57768.
ปราณิศา ธวัชรุ่งโรจน์. (2558). การวิเคราะห์คลิปวิดีโอไวรัลมาร์เก็ตติ้งและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจแบ่งปัน. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(1), 1-19.
ปริศนา เพชระบูรณิน. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับสังคมไทย. วารสารวิชาการปทุมวัน, 3(1), 39-45.
เพ็ญภิมล โสภณธนกิจ. (2560). การตลาดเชิงเนื้อหาของสำนักพิมพ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจ การตัดสินใจซื้อ และความภักดีของผู้อ่าน: สำนักพิมพ์อะบุ๊กและสำนักพิมพ์แซลมอน. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภัควัฒน์ ทรงจิตสมบูรณ์. (2560). Digital marketing : ไอเดียลัดปฏิวัติการตลาด. กรุงเทพธุรกิจ.
รุ้งทอ เนตรสืบสาย. (2561). การสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนเว็บไซต์ร้าน SHUGAA ที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าที่ซื้อเค้กฟองดองท์ผ่านเว็บไซต์ www.shugaaordercake.com. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุธีรพันธุ์ สักรวัตร. (2560). Facebook Marketing กลยุทธ์การตลาดเปลี่ยนเพื่อนมาเป็นแฟนใน I Marketing 10.0. โปรวิชั่น.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562, เมษายน 11). กลยุทธ์สร้างยอดขายรวยทะลุล้าน ด้วยการตลาดออนไลน์ ตอนที่ 2. https://www.etda.or.th/th/knowledgesharing/articles/online-marketing-strategy-Ep2.aspx
หัฏฐพัชร์ เคนพะนาน. (2563). พหุปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Video Streaming Netflix ประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 170-182.
อรรถชัย วรจรัสรังสี. (2556). ประเภทเนื้อหาการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัษฎาพร วงษ์พิพัฒน์พันธ์. (2560). ความตระหนักรู้ในตราสินค้า ความสอดคล้องกับตนเอง ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สื่อสังคมออนไลน์และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำหอมแบรนด์เนมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Berkman, H. W., Lindquist, J. D. & Sirgy, M. J. (1997). Consumer behavior (1st ed.). Lincolnwood, Illinois: NTC Business Books.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Culpeper, J. (2005). Impoliteness and entertainment in the television quiz show: The weakest link. Journal of Politeness Research, 1, 35-72.
Duncan, T. (2005). Principles of advertising & imc (2nd. ed). Boston, MA.: Mc-Graw-Hill.
Gunelius, S. (2011). Content marketing for dummies. New York: Wiley.
Hootsuite. (2020,พฤษภาคม 13). บัญชีโซเชียลของประเทศไทย. Think about wealth. https://www.thinkaboutwealth.com/socialmediastat-thailand2020/
Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management (13th ed.). Pearson Prentice Hall.
Mirabi, A., Dalirandeh, Z., & Rad, A.H. (2015). Preparation of modified magnetic nanoparticles as a sorbent for the preconcentration and determination of cadmiumions in food and environmental water samples prior to flame atomic sorption spectrometry. Journal of Magnetism and Magnetic Materials, 381(2015), 138-144.
Pulizzi, J., & Handley, A. (2004). B2C Content Marketing 2015 Benchmarks Budgets, and Trends Nort America. Content marketing institute. https://contentmarketinginstitute.com/wpcontent/uploads/2014/10/2015_B2C_Research.pdf.
Thumbsupteam. (2556, พฤษภาคม 28). DAAT เผยข้อมูลทิศทางภาพรวมธุรกิจโฆษณาดิจิทัล ปี 2556. Thumbsup Media. https://www.thumbsup.in.th/daat-reveal-overview-thai-digital-advertising-2556.
Yamane, T., & Israel, G. D. (1967). Determining sample size. University of Florida IFAS Extension: Glenn D. Israel.
Yin, C., Poon, P., & Su, J. (2017). Yesterday once more? Autographical memory evocation effects on tourists’ post–travel purchase intentions toward destination products. Journal of Tourism Management. 61(2017), 263-274.