อิทธิพลของทัศนคติ ปัจจัยด้านสังคม และความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจซื้อ ประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • เปมิกา แป้นประดิษฐ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ยุพาภรณ์ อุไรรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • พิเชษฐ์ พรหมใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2021.7

คำสำคัญ:

ความตั้งใจซื้อ, ความไว้วางใจ, ทัศนคติ, ปัจจัยด้านสังคม, ประกันชีวิต

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับความตั้งใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดสงขลา จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และ 2) ศึกษาอิทธิพลของทัศนคติ ปัจจัยด้านสังคม และความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนวัยทำงาน อายุ 20-59 ปี และยังไม่เคยซื้อประกันชีวิต จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าที ค่าเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีระดับความตั้งใจซื้อประกันชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติต่อประกันชีวิตด้านพฤติกรรม ทัศนคติต่อประกันชีวิตด้านความเข้าใจ ความไว้วางใจต่อบริษัทประกันชีวิตด้านเบี้ยประกันชีวิต และทัศนคติต่อประกันชีวิตด้านความรู้สึก มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดสงขลา โดยสามารถอธิบายระดับการมีอิทธิพล ได้ร้อยละ 50.3

References

ณัฐิยา ภัทรกิจจานุรักษ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ดลชนก นะเสือ. (2559). ปัจจัยด้านทัศนคติและความคุ้มค่าในการทำประกันชีวิตของลูกค้าธนาคารกสิกรไทย. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ทิฆัมพร อนันต์ศิริกุล. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาของบริษัทประกันชีวิตที่ใช้แอพพลิเคชั่น “ไลน์” เครือข่ายสังคมออนไลน์ในประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557 (National Research Conference 2014). วันที่ 3 เมษายน 2557, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธงชัย สันติวงษ์. 2550. การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ไทยวัฒนาพานิช.

นัฏฐภัค ผลาชิต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทย ภายในสำนักงานเขตปทุมธานี. [การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย].

นิรณาภา ลาวงค์ และเพ็ญศรี เจริญวานิช. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิตระยะยาวของประชากร ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 5(2), 36-54.

นิสารัตน์ กระจ่างศรี. (2561). การศึกษาความวางไว้ใจ การรับรู้ความเสี่ยงและทัศนคติต่อช่องทางการจำหน่ายประกันแบบเดิมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิตผ่านบริการ Insurance Agent ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

นุสรา บัญญัติปิยพจน์. (2563, ธันวาคม 20). ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. https://www.prachachat.net/finance/news-410830

ประดิษฐ์เพชร แซ่ตั้ง. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

พงศ์ธร รุ่งศุภกิจ. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการเลือกซื้อ และปัจจัยการตลาดบริการ 7P ที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อประกันชีวิต AIA ผ่านระบบ iPos+ ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุภารัตน์ วันเพ็ญ. (2563). ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อประกันภัยโรคมะเร็งของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 97-110.

อนุวัฒน์ รักษ์ทอง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนแจ้งวัฒนะ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย].

อาริยา ลีลารัศมี. (2558). องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และความไว้วางใจในการซื้อสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

Ajzen, I. (2006, December 20). Constructing a TPB questionnaire: Conceptual and methodological considerations. http://people.umass.edu/aizen/pdf/tpb.measurement.pdf

Bogardus, E. (2001). Social distance in the city. Journal of Applied Sociology, 9, 216-308.

Fishbein M, Ajzen I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to Theory and Research. John Wiley & Sons.

Lewicki, R. J., McAllister, D. J., & Bies, R. J. (1998). Trust and distrust: New relationships and realities. The Academy of Management Review. 23(3), 438-459.

McAllisterA. (1998). Search for Interplanetary Energetic Particle Events from Solar Post eruptive Arcades. The Astro physical Journal, 533:1063-1070.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

How to Cite

แป้นประดิษฐ์ เ., อุไรรัตน์ ย., & พรหมใหม่ พ. (2021). อิทธิพลของทัศนคติ ปัจจัยด้านสังคม และความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจซื้อ ประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดสงขลา. Maejo Business Review, 3(2), 20–34. https://doi.org/10.14456/mjba.2021.7