คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ของเจ้าของธุรกิจค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐ กรณีศึกษา : พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วรมรรณ นามวงศ์
  • ประภัสสร วรรณสถิตย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ชัยวัฒน์ ใบไม้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2019.5

คำสำคัญ:

คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ, ธุรกิจค้าปลีก, โครงการธงฟ้าประชารัฐ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้นำเสนอ ในประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐ โดยใช้พื้นที่ในการศึกษาคือเขตภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้ประกอบการจำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคลของผู้ประกอบการร้านค้า และ 2.เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐที่ส่งผลต่อการประกอบการซึ่งจะทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่ยังไม่มีการศึกษากับประชากรกลุ่มนี่มาก่อน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 320 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าระดับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ประกอบการ การทำงานเชิงรุกอยู่ในระดับความคิดเห็นถึงมากที่สุด รองลงมาคือด้านความเป็นอิสระในการบริหารงาน และ ด้านความมีนวัตกรรม ตามลำดับ     ผู้ประกอบการร้านค้าที่มีอายุต่างกันมีคุณลักษณะของการผู้ประกอบการต่างกัน  ผู้ประกอบการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันจะมีคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน  ทำให้ทราบถึงลักษณะทางประชากรศาสตร์ผู้ประกอบการค้าปลีกที่แตกต่างกันอาจมีความสัมพันธ์ต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ  ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะสามารถต่อยอดเข้าไปศึกษาตัวแปรอื่นเพิ่มเติมในด้านคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ด้านอื่นๆต่อไป เช่น กรณีการศึกษาต่างๆ ด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ และการตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือการศึกษาการดำเนินธุรกิจค้าปลีกให้ประสบความสำเร็จและความสามารถในการสร้างการแข่งขันทางธุรกิจ เป็นต้น

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

กุลบุตร โกเมนกุล. (2560). นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.tcjapress.com/2017/02/22/business-model-innovation/ฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปรมาภรณ์ เอกอมรพันธ์. (2550). แรงจูงใจในตนเอง ภูมิความรู้ความชํานาญ กลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ และความสําเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบการธุรกิจประเภทที่พักในเขตพื้นที่ประสบภัยคลื่น สึนามิ ปี พ.ศ.2547 ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ประพนธ์ เล็กสุมา. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องเขียนของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอําเภอเมืองนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ประสพชัย พสุนนท์. (2553). สถิติธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท้อป.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฝนทิพย์ ฆารไสว. (2554). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 39-50.

พิมพ์ชญาณ์ แจ่มใสศรี. (2554). ปัจจัยแห่งความสําเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างในเขตชุมชน กรณีศึกษา : อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วิมพ์วิภา เกตุเทียน. (2556). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จใน การดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน).

วุฒิชัย จงคํานึงศิล. (2547). การศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สำนักจัดระบบและพัฒนามาตรฐานทางการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://thongfah.dit.go.th/AboutUI.aspx

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2018). รู้จัก สสว. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/th/cms-detail.php?modulekey=118&id=1102.

สิริรัฐ บุญรักษา. (2557). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จทางการเงินของทายาทธุรกิจหลังการถ่ายโอนธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย. APHEIT Journal, 21(1), 71-84.

Frese, Michael. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa : A Psychological Approach. United States of America : Greenwood Publishing Group.

Keyser, M., de Kruif. M., & Frese, M. (2000). The psychological strategy process and sociodemographic variables as predictors of success in micro- and small-scale business owners in Zambia. In M. Frese (Ed.), Success and failure of microbusiness owners in Africa: Apsychological approach Westport. CT: Greenwood Publications.

Jadesadalug Viroj. (2009). Building Innovative Creation Efficiency of Furniture Business in Thailand: An Empirical Research of Its Antecedents and Consequences. (Adissertation submitted in partial fulfillment of the requirements for The degree of Doctor of Philosophy in Management Mahasarakham University).

Lumpkin, G. T. & Dess, G. G. (1996). Clarifying the entrepreneurial orientation construct and linking it to performance. Academy of management Review, 21(1), 135-172.

Lumpkin, G. T. & Dess, G. G. (2001). Linking two dimensions of entrepreneurial orientation to firm performance: The moderating role of environment and industry life cycle. Journal of business venturing, 16(5), 429-451.

Miller, D. (1983). The correlates of entrepreneurship in three types of firms. Management science, 29(7), 770-791.

Schumpeter JA (1951) Change and the entrepreneur. In: Clemence R.V. (ed) Essays of JA Schumpeter, Addison-Wesley, Reading, MA.

Schumpeter, J. A., Capitalism, Socialism and Democracy. (1942). (New York: Harper Perennial, 2008).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19

How to Cite

นามวงศ์ ว., วรรณสถิตย์ ป., กล่อมธงเจริญ ก., & ใบไม้ ช. (2021). คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ของเจ้าของธุรกิจค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐ กรณีศึกษา : พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. Maejo Business Review, 1(1), 48–59. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.5