แนวทางการประยุกต์ระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล กรณีศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2019.8คำสำคัญ:
การควบคุมภายใน, ประสิทธิภาพ, โคโซ, มาตรฐานสากล, โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษาเรื่องแนวทางการประยุกต์ระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการควบคุมภายในตามแนวทางของโคโซ และเพื่อทราบแนวทาง ในการประยุกต์ระบบการควบคุมภายในตามแนวทางของโคโซให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางการควบคุมภายใน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักบัญชีการเงินที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และมีประสิทธิภาพในการควบคุมภายในที่ดีมาก โดยความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานมีความสัมพันธ์กับด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม และด้านการติดตามและประเมินผล ความเชื่อถือได้ของข้อมูลและรายงานทางการเงินมีความสัมพันธ์กับด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม และด้านสารสนเทศและการสื่อสาร การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับมีความสัมพันธ์กับด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามและประเมินผล การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมภายใน ควรมีการจัดการอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหารพร้อมกับครูที่ปฏิบัติงาน และควรมีผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านในงานการเงิน พัสดุ บัญชี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กรมบัญชีกลาง. (2545). กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในส่วนราชการ.
กิตติพงษ์ โภชนะสมบัติ. (2557). การประเมินผลระบบควบคุมภายในตามแนวคิด COSO กรณีศึกษาหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา).
ชุลีกาญจน์ ไชยเมืองดี. (2548). การศึกษาระบบการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
บุษบา ครอบครอง. (2556). การพัฒนาระบบการควบคุมภายในด้านการเงินการบัญชีและพัสดุของวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง. (การค้นคว้าแบบอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2540). การตรวจเงินแผ่นดิน. หมวด11. มาตรา312.
โสวรรณี แหล่งหล้า. (2553). การพัฒนาระบบการควบคุมภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต3. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต6. (2560). รายชื่อโรงเรียน. สืบค้นวันที่ 3 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.chiangmaiarea6.go.th/index2.php.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2544). ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ: สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.
สำนักบัญชีและตรวจสอบภายในกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง. (2544). แนวปฏิบัติระบบการควบคุมภายในภาคราชการ.
อุษณา ภัทรมนตรี. (2558). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Ahadiat, Nas. (2013). A Study of Quality of Internal Control in the US Federal Financial Management Systems. The Journal of Law & Financial Management. 12(2).
Mohamed, H.S. and M.H. Dashti. (2014).Study of internal Control of Local Government. International Journal of Management. 5(4) : 106-109.
Odunayo Henry Adewale. (2014). Internal Control System : A managerial Tool for Proper Accountability, a Case Study of Nigeria Customs Service. European Scientific Journal. 10(13): 252-267.
Schneide, Kent N. and Lana L. Becker. (2011). Using the COSO Model of Internal Control as a Framework for Ethics Initiatives in Business School. Journal of Academic and Business Ethics.