การบูรณาการทุนทางสังคมเชื่อมโยงเส้นทางการค้าชายแดนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะยาบ้านดอยแสง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ชุติมันต์ สะสอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน
  • นิพนธ์ คำพา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน
  • สัญญา สะสอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2019.11

คำสำคัญ:

ชาติพันธุ์กะยา, การบูรณาการ, ทุนทางสังคม, การค้าชายแดน, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนบ้านดอยแสง ด้วยการสุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบเจาะจงจำนวน 150 คน คือ 1) ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนกลุ่มชุมชนชาวกะยา จำนวน 135 คน 2) ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยแสง  จำนวน 5 คน  3) ทหาร ฉก.ร.7 จำนวน 5 นาย และ 4) นักวิชาการ จำนวน 5 คน  มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ทุนทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์กะยา บ้านดอยแสง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อจัดทำแผนที่เส้นทางการค้าชายแดนบ้านดอยแสง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนกับเมืองลอยก่อ รัฐกะยา ประเทศเมียนมา และ 3) เพื่อสำรวจความต้องการในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะยาบ้านดอยแสง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นทุนทางสังคม ได้แบ่งทุนทางสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะยาบ้านดอยแสงออกเป็น 4 มิติ คือ 1) มิติทางศาสนา ชาวดอยแสงมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องผี และมีประเพณีพิธีกรรมตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องผีอย่างต่อเนื่อง 2) มิติทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บ้านดอยแสงมีทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ สวยงาม เหมาะสมกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และเชิงอนุรักษ์ 3) มิติทางวัฒนธรรม ชาวดอยแสง มีการรักษาวิถีวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านประเพณีและพิธีกรรมสืบทอดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่มีบางวัฒนธรรมที่เริ่มเลือนหายไป เช่น การทอผ้ากะเหรี่ยง ซึ่งภาครัฐควรเข้ามาช่วยฟื้นฟู เพื่อให้ชุมชนรักและหวงแหนในวัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่า และ 4) มิติทางการศึกษา ชาวดอยแสงเรียนจบถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไม่นิยมเรียนต่อ ภาครัฐควรเข้ามาส่งเสริมด้านการศึกษาต่อ ประเด็นการจัดทำแผนที่เส้นทางการค้าชายแดน ได้จัดทำแผนที่เส้นทางการค้าชายแดนบ้านดอยแสง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนไปยังเมืองลอยก่อ รัฐกะยา ประเทศเมียนมา ประเด็นความต้องการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวกะยาบ้านดอยแสงมี 4 ด้าน คือ 1) ด้านการศึกษา ภาครัฐควรส่งเสริมด้านการศึกษาต่อ ด้านภาษา และด้านอื่น ๆ  2) ด้านการส่งเสริมอาชีพ ควรจัดอบรมด้านเกษตรกรรม ด้านการทอผ้ากะเหรี่ยง และด้านอื่น ๆ เพื่อให้ชาวบ้านเกิดทักษะ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 3) ด้านสุขอนามัย ภาครัฐควรให้ความรู้ด้านสุขอนามัย ให้มีการรักษาความสะอาดชุมชน การนำมูลกระบือทำเป็นปุ๋ยและแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานต่าง ๆ และ 4) ด้านการท่องเที่ยว ภาครัฐควรส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนผ่านเส้นทางการค้าชายแดน ทั้งด้านนิเวศน์ ด้านการอนุรักษ์ ด้านศาสนาและวัฒนธรรม และด้านชาติพันธุ์เชื่อมโยงแม่ฮ่องสอนสู่เมืองลอยก่อ รัฐกะยา ประเทศเมียนมา ภายใต้โมเดล G-RHCPCMET (หมู่บ้านสีเขียว) ทั้ง 8 ด้าน

References

คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน (คพท.). (2561). รายงานสรุปผลคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน (คพท.). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

คัชพล จั่นเพชร และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 10(1) น. 111-121.

จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2554). แนวคิดหลังสมัยใหม่ : การย้อนสู่โลกแห่งภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, ปีที่ 13(1) น. 20-23.

ชุติมันต์ สะสอง บุญฑวรรณ วิงวอน และสัญญา สะสอง. (2560). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

นพดล อินทร์จันทร์ ปรารถนา คงสําราญ ปิยวดี มากพา และ กานต์รวี ชมเชย. (2555). การสํารวจการจัดกิจกรรมและการให้บริการพื้นที่ทางวัฒนธรรมด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล ลภะวงศ์ และ อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2557). กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านหนองมณฑา ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, น. 2211-2218.

นันธิดา จันทรางศุ. (2560). การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะการอยู่ร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรม. นครปฐม: วารสารภาษาและวัฒนธรรม, ปีที่ 36(2) น. 69-93.

พจนา นูมหันห์ อุษา ตั้งธรรม วาสนา ช้างม่วง สุรีย์ สุทธิสังข์ วิภาดา กระจ่างโพธิ์ และ สัมภาษณ์ สุวรรณคีรี. (2555). ศึกษาวิถีวัฒนธรรม อนุรักษ์และพัมนาผ้าชนเผ่าสู่เชิงพาณิชย์ กรณีศึกษา ผ้าทอกะเหรี่ยงจังหวัดภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ห้องสมุดบ้านจอมยุทธ์. (Online) Available: http://www.baanjomut.com. (สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2561).

สัญญา สะสอง และชุติมันต์ สะสอง. (2561). การจัดการชุมชนด้วยมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ).

สุรชัย พิศไหว. (2561). (สัมภาษณ์ วันที่ 15 มีนาคม 2561).

Andrews, F.M. and Crandall, R. 1975. The validity of measures of self-reported well-being. Social Indicators Research, 3: 1-19.

Cummins, R.A. 1998. The comprehensive quality of life scale (fifth edition). Proceeding of the First International Conference on Quality of Life in Cities, Singapore, 4-6 March: 68.

Harwood, P. 1976. Quality of life: ascriptive and testimonial conceptualizations. Social Indicators Research, 3: 471-496.

Oliver, J.P.J. et al. 1996. Quality of Life and Mental Health Service. London: Routledge. The Pursuit of Happiness. (Online) Available: http://www.pursuit-ofhappiness/Aristotle. (สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2561).

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association : California. April 19 – 23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-21

How to Cite

สะสอง ช., คำพา น., & สะสอง ส. (2021). การบูรณาการทุนทางสังคมเชื่อมโยงเส้นทางการค้าชายแดนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะยาบ้านดอยแสง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. Maejo Business Review, 1(2), 47–59. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.11