การใช้หลักการจัดการของผู้ประกอบการกลุ่มเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์

ผู้แต่ง

  • พนมพร เฉลิมวรรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2020.3

คำสำคัญ:

หลักการจัดการ, การจัดการ, เกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ศึกษาถึงการใช้หลักการจัดการของผู้ประกอบการกลุ่มเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมุ่งศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ที่ให้ข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากการวิจัยพบว่า หลักการจัดการที่กลุ่มผู้ประกอบการเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์ได้นำมาใช้ในการบริหารงาน ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) ได้แก่ แผนการเตรียมการเพาะปลูกพืชผักปลอดภัย และแผนการเก็บผลผลิตและการจำหน่ายสินค้าของตนเอง การจัดองค์การ (Organization) มีการกำหนดโครงสร้างองค์การแบบแบ่งตามหน้าที่ โดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้บริหาร และมีผู้รับผิดชอบฝ่ายต่าง ๆ การชี้นำ (Leading) ผู้นำกลุ่มเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอายุน้อย มีความคล่องตัวในการประสานงานและชี้นำ รวมถึงมีความรักในงานการเกษตร ใช้วิธีการชี้นำกลุ่มสมาชิกด้วยการสร้างความสนิทสนมกับกลุ่มสมาชิก และการควบคุม (Controlling) มีการกำหนดเป้าหมายของการควบคุมในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การควบคุมประสิทธิภาพของผักปลอดภัยที่ได้เพาะปลูก การควบคุมการเงินด้วยรายการทางบัญชี  รวมถึงการควบคุมการทำงานด้านอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การควบคุมโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ นั้นยังขาดความสม่ำเสมออยู่ในบางครั้ง โดยมีเทคนิคการควบคุมการดำเนินงานคือ เทคนิคการควบคุมระหว่างการดำเนินงาน และเทคนิคการควบคุมหลังการดำเนินงาน

References

กรีนเนท. (2558, กรกฎาคม 23). ตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย. สืบค้นจาก http://www.greennet.or.th/article/1009

กรีนเนท. (2558, กรกฎาคม 23). แนวทางเกษตรอินทรีย์. สืบค้นจาก http://www.greennet.or.th/article/86

กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ. (2553). รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง; กรณีศึกษา กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านดอกแตง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2551). การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษบ้านจำหมู่ 6 ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

เทียน เลรามัญ. (2558). รูปแบบการจัดการกลุ่มผักอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(3), 309-318.

ธงชัย สันติวงษ์. (2539). หลักการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555–2569). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2558, กรกฎาคม 12). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้นจาก http://www.mju.ac.th/vision/vision.html

วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2558). ภาพรวมเกษตรอินทรีย์ไทย 2556-57. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสายใยแผ่นดิน.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า.

Durbin, A.J. & R.D. Ireland. (1993). Management & Organization. (2nd ed). United State of America: South–Western Publishing.

Robbins, S. P. & Coulter, M. (2002). Management, (7th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-10

How to Cite

เฉลิมวรรณ์ พ. (2021). การใช้หลักการจัดการของผู้ประกอบการกลุ่มเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์. Maejo Business Review, 2(1), 35–52. https://doi.org/10.14456/mjba.2020.3