การศึกษาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2021.8คำสำคัญ:
ความรู้ความเข้าใจ, ทัศนคติ, ภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของผู้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของผู้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจากผู้สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าร่วมกลุ่มลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ Bitcoin Crypto Thailand ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 3,200 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 361 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้การวิเคราะห์ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ระดับที่ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 42.94 และมีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 41.00 เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรอิสระของผู้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล พบว่า ตัวแปรอิสระ อายุ ระดับการศึกษา และพฤติกรรมด้านลักษณะความเสี่ยง ส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.05 นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรอิสระกับทัศนคติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล พบว่า ตัวแปรอิสระ อายุ ระดับการศึกษา พฤติกรรมด้านระยะเวลาในการลงทุน และพฤติกรรมด้านลักษณะความเสี่ยง ส่งผลให้มีทัศนคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.05
References
กรมสรรพากร. (2561). ภาษีจากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล. วารสารสรรพากรมุมสรรพากร, ปีที่ 7 ฉบับที่ 74, ISSN 2465-5090
จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2559). วิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ: ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปวิธีการเสียภาษีโดยการประเมินตนเอง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(พิเศษ), 253-265.
ณ หทัย สุขเสนา. (2560). มาตรการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัล และการปรับใช้กฎหมายไทยกับเงินสกุลดิจิทัล: บิทคอยน์. NBTC Journal, 2, 364-389.
ณัฐกานต์ นาคีเภท และ ฉันทิชา บัวศรี. (2563). ศึกษาความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชน ในตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(2 กรกฎาคม-ธันวาคม), 253-265.
นารินทิพย์ ท่องสายชล. (2564). Digital Asset : มิติใหม่แห่งการลงทุนยุค Digital. https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/259-get-to-know-digital-asset
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2564). ข้อคำถามและแนวทางคำตอบภาษีอากรบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค ประเทศไทย. Journal of Accountancy and Management, 13(2), 42-60.
พรชัย ชุนหจินดา. (2561). บทเรียนจากทศวรรษแรกของคริปโทเคอร์เรนซี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 1-28.
พัชราวลัย เขียวทอง และ สุมาลี รามนัฏ. (2563). กรณีศึกษาราคา Bitcoin ที่มีผลกระทบต่อคำนวณการเสียภาษี โดยใช้แบบจำลอง ARIMA ของนักลงทุนเงินสกุลดิจิทัลในประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1 มกราคม-เมษายน), 103-111.
ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
วรัญญา ธูปทอง และ ธนวัฒ พิสิฐจินดา. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินดิจิทัล. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มกราคม 2562, ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.
วิภาดา สุขสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ของผู้เสียภาษีอากรที่มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย). SAU Journal of Social Sciences & Humanities, 4(2), 13-18.
วีระพันธ์ แก้วรัตน์. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยโยนก.
ศิพล รื่นใจชน. (2549). ความรู้ ความเข้าใจ ในสิทธิของประชาชนเกี่ยวกับธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ศึกษากรณีประชาชน หมู่ 1 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา สาขาวิชาการบริหารทั่วไป.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2525). สภาวะของความพร้อมทางจิต. สำนักพิมพ์บัณฑิต.
สมพัฒน์ มีมานัส และ เสถียรภาพ นาหลวง. (2564). มาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีคริปโท เคอร์เรนซีในประเทศไทย. วารสารการบริหารปกครอง, 10(1), 129-162.
Hair, J. F., Black, B., Babin, B., Anderson, R. E., and R. L. Tatham. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. Pearson.
Narisara Suepaisal. (2564). Digital Asset คืออะไร?. https://thematter.co/futureverse/futureword-digital-asset/160461
Nunnaly, J. C., and I. H. Bernstein. (1994). Psychometric Theory. McGraw-Hill.
Piyawan Chaloemchatwanit. (2563). อะไรคือภาษีคริปโตฯ? สนทนากับ iTAX ว่าด้วยกฎหมาย พรก.ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล. https://thematter.co/social/talk-about-crypto-tax-with-itax/160195