ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถการทำกำไร ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วารุณี ชายวิริยางกูร
  • สุกัญญา สีแดง
  • จิตราภรณ์ อุ่นแก้ว
  • ชัชชา บุ่งไธสง
  • วิกรานต์ เผือกมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2020.9

คำสำคัญ:

ความสามารถการทำกำไร, ธนาคารพาณิชย์, สภาพคล่อง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องกับความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณจากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งประชากร คือ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจำนวน 14 ธนาคาร ธนาคารเพื่อรายย่อย จำนวน 1 ธนาคาร ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ จำนวน 4 ธนาคาร และธนาคารที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ จำนวน 11 ธนาคาร รวมทั้งหมด 30 ธนาคาร การเลือกกลุ่มตัวอย่างเลือกเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยเนื่องจากมีบทบาทและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและเป็นที่สนใจของนักลงทุน จำนวน 14 ธนาคาร ใช้ข้อมูลจากรายงานประจำปี ตั้งแต่ปี 2554–2562 จำนวน 9 ปี เป็นข้อมูลแบบ Panel data จำนวน 126 ตัวอย่าง ทำการศึกษาโดยใช้สมการเชิงถดถอย (Multiple linear regressions) วิธี Ordinary least squares: OLS ผลการศึกษา พบว่า  ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีสภาพคล่องที่ดี (ค่าเฉลี่ย LAD เท่ากับ 25.43%) แสดงถึงความสามารถการจ่ายคืนหนี้ระยะสั้นและเงินฝากได้ ส่วนความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ถือได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ (ค่า R2 เท่ากับ 6.47%) และนอกจากนั้นยังพบว่า สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถการทำกำไร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จากผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินการธนาคารเพื่อวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และปรับใช้อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสมกับการคาดการณ์สภาพคล่องและความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์

References

จิรทัศน์ พัฒนอมร. (2546). ปัจจัยที่กำหนดการดำรงสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณชา อนันต์โชติกุล และลัทธพร รัตนวรารักษ์. (2561, สิงหาคม 6). ธนาคารไทยเสี่ยงขึ้นหรือไม่ในยุคดอกเบี้ยต่ำ, จาก https://www.pier.or.th/tag/bank-risk-taking.

ดุษฎี ศรีสว่างสุข. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งานเครื่องทำธุรกรรมทางการเงินอัตโนมัติ กรณีศึกษา: เครื่องฝาก-ถอนอัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558, ตุลาคม 1). การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง, จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PruReg_HB/Documents/

นาตยา ภู่มณี. (2556). การวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนและความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นันทพร บ้ำสันเทียะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นพวรรณ สิมมา. (2557). การวัดผลการดำเนินงานทางการเงินและการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมอาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บดินทร์ มหาวงศ์ และ ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(18), 15-40.

ปุณยวีร์ ใจเดช. (2556). การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หมวดธุรกิจเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2551–2555. กรณีศึกษา: บริษัท ไทย -เยอรมัน โปรดักส์ จำกัด (มหาชน). วารสารวิจัยและพัฒนา, 5(1), 24–37.

พิมพิกา พงษ์พานิช. (2561). ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยขนาดใหญ่ พ.ศ. 2556-2560. (รายงานประชุมผลงานวิจัย). สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

พรนพ พุกกะพันธุ์. (2548). การบริหารธนาคารพาณิชย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3) โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรีวรรณ เจริญรูป พวงทอง วังราษฎร์ และนภาภรณ์ ทรัพย์กุลมงคล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์กับผลการดำเนินงานของกิจการ. กรณีศึกษา: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 43-54.

วเรศ อุปปาติก. (2544). เศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรุฬห์ ลำกูล. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์:กรณีศึกษาธนาคารขนาดใหญ่ 5 อันดับแรกในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมหมาย ปฐมวิชัยวัฒน์. (2535). การบัญชีขั้นกลางและการบัญชีขั้นสูงสำหรับนักการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนัสปรีย์ ไชยวรรณ และณัฏฐินี ศรีจันทร์. (2556). ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจที่มีต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อยของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารเศรษฐศาสตร์, 17(1), 8-13.

อุษณีย์ ลิ่วรัตน์. (2559). การวิเคราะห์หลักทรัพย์ราย Sector: หุ้นกลุ่มธนาคาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25

How to Cite

ชายวิริยางกูร ว., สีแดง ส., อุ่นแก้ว จ., บุ่งไธสง ช., & เผือกมงคล ว. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถการทำกำไร ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. Maejo Business Review, 2(2), 46–59. https://doi.org/10.14456/mjba.2020.9