การประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยรูปแบบ CIPP Model

ผู้แต่ง

  • ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กิตติชัย อธิกุลรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2023.1

คำสำคัญ:

โครงการพัฒนาทักษะแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC), ประเมินผลโครงการ, CIPP Mode

บทคัดย่อ

บทความการประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 12 รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพและการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานที่ผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลตามมาตรฐานหลักสูตรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการด้วยรูปแบบ CIPP Model โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ผ่านการฝึกอบรมในความรับผิดชอบของ 4 หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้แก่ 1) สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานฉะเชิงเทรา 2) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี 3) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 17 ระยอง และ 4) สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ได้ดำเนินการฝึกอบรม โดยรวบรวมข้อมูลผู้ผ่านการฝึกอบรมยกระดับทักษะฝีมือ จำนวน 400 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมิน พบว่า การวิเคราะห์ความสอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามประเด็นยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคล และความต้องการของตลาดแรงงาน มีการทำงานตามหลักการทำงานที่มีคุณค่าเพื่อสร้างผลิตภาพเพิ่มให้กับประเทศ นอกจากนี้แล้วตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โครงการฝึกอบรมตามหลักสูตรยกระดับทักษะฝีมือยังมีส่วนสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ในการเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย ทำให้แรงงานมีความรู้และทักษะเป็นไปตามความต้องการของตลาด ผลการวิเคราะห์ผู้ผ่านการฝึกอบรมยกระดับฝีมือและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พบว่า ปัจจัยนำเข้า (Input) อยู่ในระดับมากที่สุด กระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมาก ผลผลิต (Output) อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้ของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับดีมาก และมิติด้านผลสัมฤทธิ์ความยั่งยืน (Sustainability) อยู่ในระดับดีมาก

References

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2564). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 โครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.

จรรยา ดาสา, ณสวรรค์ ผลโภค, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ และสมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2553). การประเมินและติดตามผลหลักสูตร การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ศึกษา (แผนข.). ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวีป ศิริรัศมี. (2544). การวางแผนพัฒนาและประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สํานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

นิศา ชูโต. (2538). การประเมินผลโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). เฟมโปรดักชั่นส์.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2529). การวิจัยประเมินผล หลักการและกระบวนการ. การพิมพ์พระนคร.

สมทรง สุภาพ. (2557). การประเมินผลหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคโดยใช้แบบจำลองซิปของนักศึกษา 3 กลุ่มวิชา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สมทรง สุภาพ. (2565). รูปแบบเพื่อประเมินหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาจากรูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 1-14.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. http://nscr.nesdc.go.th/ยุทธศาสตร์ชาติ

อรอนงค์ มากจันทร์. (2555). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โรงเรียนประทุมอนุสรณ์ โดยใช้ CIPP Model. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อีอีซี. (2564). ความเป็นมาของ อีอีซี., EEC เกี่ยวกับ อีอีซี. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). https://www.eeco.or.th/th/government-initiative.

อุดม อัศวุตมางกุร, อารยา ประเสริฐชัย และช่อทิพย์ บรมธนะรัตน์. (2560). การประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(2), 124-134.

Akpur, U. , Alci, B. , & Karatas, H. (2015). Evaluation of the Curriculum of English Preparatory Classes at Yildiz Technical University using CIPP model. Academic journals, 11(7), 465-473.

Best, John W. (1977). Research in Education. (3ed) . Prentice-Hall.

Brown, F. G. (1983). Principles of educational and psychological testing. (3rd rev.ed). CBS College Pulishing.

Bryant, C. & White, L. G. (1982). Managing development in the third word. Westview press.

Chase, C. T. (1987). Measurement for education evaluation. (2nd ed.). Addision Wesley Publishing Company.

Khuwaja, S. (2001). Education evaluation and monitoring concepts and techniques. University of Missouri.

Mehrens, W. A. & Lehmann, I. J. (1984). Measurement and education in evaluation and psyschology. Holt, Rinehart and Winston.

Patil, Y., & Kalekar, S. (2014). CIPP Model for school evaluation. Scholarly Research Journal for Humanity Science & English Language, 2(10).

Quinn, J. D. (1971). A Program Evaluation of the Impact of a Read to Learn Model on Alternative High School Students’ LEXILE Levels and Reading Achievements. [Doctoral Desertation, Education], Gardner-Webb University.

Rossi, P.H. & Freeman H.E. (1982). Evaluation: A systematica approach. Beverly Hill, California: Sage.

Scriven, M. (1973). Goal-free evaluation. In E. R. House (Ed.). School evaluation. McCutchan. pp. 319-328.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP model for evaluation. In D. L. Stufflebeam & T. Kellaghan (Eds.), The international handbook of educational evaluation. Boston, MA: Kluwer Academic Publishers.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, & applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Stufflebeam, D.L. (2000). The CIPP model for evaluation. In Stufflebeam, D.L., Madaus, G.F. Kellaghan, T. (Eds). Evaluation models. Viewpoints on educational and human service evaluation. (2nd ed). Kluwer Academic. pp. 279-317.

To, O. C. (2017). A Program Evaluation of an Apprenticeship Program using Stufflebeam’s CIPP Model. [Doctor of Education], Gardner-Webb University.

Tokmak, H. S., Baturay H. M., & Fadde, P. (2013). Applying the Context, Input, Process, Product, Evaluation Model for Evaluation, Research, and Redesign of an Online Master’s Program. The International Review of Research in Open and Distance Learning. 14(3), 273-293.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row Publication.

Zhang, G., Zeller, N., Griffith, R., Metcalf, D., Williams, J., Shea, C. & Misulis, K. (2011). Using the context, input, process, and product evaluation model (CIPP) as a comprehensive framework to guide the planning, implementation, and assessment of service-learning programs. Journal of higher education and outreach engagement, 15(4), 57–83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

แจ้งรักษ์สกุล ศ., & อธิกุลรัตน์ ก. (2023). การประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยรูปแบบ CIPP Model. Maejo Business Review, 5(1), 1–20. https://doi.org/10.14456/mjba.2023.1