ศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท ด้วงจันทร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • กมลชนก แจ้งประจักษ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ตวงทอง สถิตระวังภัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ธัญญลักษณ์ เพ็งบูรณ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • นวรัตน์ คงภักดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • อารียา นาคนวล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • อิศราภรณ์ สุขเนาวรัตน์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2023.6

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน, ศักยภาพ, สุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับศักยภาพและเปรียบเทียบศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและธุรกิจ จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามของผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 76 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน มีศักยภาพผู้ประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยศักยภาพด้านบุคลิกภาพการเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และทักษะในการให้บริการอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน พบว่า การฝึกอบรมที่แตกต่างกันมีศักยภาพผู้ประกอบการที่แตกต่างกันทั้งด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทักษะในการให้บริการ ทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ และบุคลิกภาพในการเป็นผู้ประกอบการ กลุ่มอายุที่ต่างกันมีศักยภาพผู้ประกอบการที่แตกต่างกันในด้านความรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีศักยภาพผู้ประกอบการที่แตกต่างกันทั้งด้านความรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ทักษะในการให้บริการ และทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ ประสบการณ์ที่ต่างกันมีศักยภาพผู้ประกอบการที่แตกต่างกันทั้งด้านความรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจและทักษะในการให้บริการ อย่างไรก็ตามประเภทของกิจการและระยะเวลาในการดำเนินกิจการไม่ส่งผลต่อศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานประจำปี 2562 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สำนักพิมพ์ บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

กฤติน ชลิตาภรณ์. (2557). การศึกษาปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ความเครียดและแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กวินภัสร์ นิธิทัตพจนินท์. (2560). สมรรถนะของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). [ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

แจ่มจันทร์ บุญโญปกรณ์. (2565). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการให้บริการการท่องเที่ยวบนชีวิตวิถีใหม่ด้วยแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(2), 402-412.

โชติรส สมพงษ์ และ สาโรช เผือกบัวขาว. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 310-327.

ดุสิต ขาวเหลือง. (2554). การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1), 18-32.

ธนตพร อ่อนชื่นชม. (2560). การศึกษาสมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์ (2561). การคํานวณขนาดตัวอย่างสําหรับงานวิจัย โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป G*. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 496-507. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/view/181958.

บุญช่วย ค้ายาดี. (2564). ปรับตัวรับท่องเที่ยวมิติใหม่. ไทยโพสต์. https://www.thaipost.net/main/detail/118763

ปัณฑารีย์ ฟองแพร่. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง:กรณีศึกษาธนาคารยูโอบี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปารณีย์ ศรีสวัสดิ์, ณัฐกานต์ แน่พิมาย, เสาวภาคย์ สว่างจันทร์, และพงศ์เทพ แก้วเสถียร. (2562). การพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(1), 150-166.

พนิดา วัชระรังษี. (2560). สมรรถนะและคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยในเครือข่ายเบญจมิตร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 116-126.

พิมพ์ผกา แก้วดี. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะนักวิชาชีพบัญชีที่ผู้ประกอบการต้องการตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภวัต ธนสารแสนล้าน. (2558). การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 74-86.

ภัทราพร มหาพรหม. (2562). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มาฆฤกษ์ ชูช่วย. (2557). สมรรถนะผู้ประกอบการธุรกิจสปา เพื่อรองรับ AEC: กรณีศึกษา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรุตม์ ฝาสีน. (2559). ความต้องการฝึกอบรมของพนักงานในอุตสาหกรรมขุดเจาะสำรวจน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊ส ในจังหวัดสงขลา. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดนาดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 967-988.

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง, กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง, ชุติมา หวังเบ็ญหมัด, ดวงฤดี อุทัยหอม และนิศาชล สกุลชาญณรงค์. (2561). ศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมวิชาการหาดใหญ่ระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11 (น.1769). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมคิด บางโม. (2557). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิทยพัฒน์.

สุทธามณี ธนะบุญเรือง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างอุปนิสัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพ กับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการบินการเดินทางและการบริการ, 1(2), 101-126.

หมื่นไทย เหล่าบรรเทา. (2560). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิช แซ่ลี้ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). ศักยภาพการจัดการธุรกิจและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการไร่มันสำปะหลัง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1), 36-42.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed). McGraw-Hill.

Prajapati, B., Dunne, M. C. M., & Armstrong, R. A. (2010). Sample size estimation and statistical power analyses. Optometry Today, (16), 10-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

ด้วงจันทร์ ช., แจ้งประจักษ์ ก., สถิตระวังภัย ต., เพ็งบูรณ์ ธ., คงภักดี น., นาคนวล อ., & สุขเนาวรัตน์ อ. (2023). ศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Maejo Business Review, 5(1), 114–136. https://doi.org/10.14456/mjba.2023.6