ผลกระทบของการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความพึงพอใจการใช้บริการสำนักงานบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและวิจัยของนิสิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กิรินดา ไชยศรีสุทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชลธิชา อินอุ่นโชติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อินทร์ อินอุ่นโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์, ความพึงพอใจในการใช้บริการ, สำนักบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความพึงพอใจการใช้บริการสำนักบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและวิจัย ของนิสิตคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตบัณฑิตศึกษา จำนวน 203 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า 1) การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ด้านการเป็นช่องทางในการรับความคิดเห็นด้านการให้บริการเชิงรุก และด้านการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความพึงพอใจการใช้บริการสำนักบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและวิจัยโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรมีการปรับกระบวนการให้บริการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษากับผู้เรียนมากขึ้น และจะส่งผลต่อความพึงพอใจศิษย์ปัจจุบันและทางเลือกสำหรับศิษย์ใหม่ในการหาข้อมูลผ่านสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

โกญจนาท เจริญสุข. (2558). สื่อ Social Media กับการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน. มหาวิทยาลัยเกริก. https://lad.coj.go.th/th/file/get/file/202006125819ae244e57d78c7b38bd6d3a304cfe100110.pptx

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2557). รายงานประจำปีและข้อมูลทั่วไปคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2556-2557. คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฑามาศ สนกนก. (2564). การใช้ Social Media กับการเรียนการสอนอุดมศึกษายุคใหม่ผูกใจผู้เรียนตรงใจผู้สอน. แบบสรุปข้อมูลจากการอบรมหรือสัมมนาทางวิชาการ.

ทัตธนันท์ พุ่มนุช. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม (Social Network) เพื่อพัฒนาในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. Veridian E-Journal, 5(1), 523-540.

ภคพล จิรานาเทพ. (2564). การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. https://library.wu.ac.th/km/การสร้างสรรค์สื่อดิจิท/

ภานุวัฒน์ กองราช. (2554). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษา Facebook. [ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2562). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-103.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2563) ข้อมูลนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. https://erp.msu.ac.th/index/

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2558). นโยบายการใช้สื่อและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสังคมออนไลน์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมิต สัชฌุกร. (2566). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของวัยรุ่นในชีวิตประจำวัน กรณีศึกษาเฉพาะ นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อรวรรณ วงค์โพธิ์แก้ว. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรีในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Aaker, D.A., Kumar, V. and Day, G.S. (2001). Marketing research. (7th ed). John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business Statistics For Contemporary Decision Making. (4th ed). John Wiley and Sons.

Hoffman, A.T. (2018). Dynamic Capabilities and Operation Capabilities: A Knowledge Management Perspective. Journal of Business Research, 1(5), 145-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22