ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของสัตวแพทย์วิชาชีพ
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2023.15คำสำคัญ:
การตัดสินใจเปลี่ยนงาน, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยสุขอนามัย, สัตวแพทย์วิชาชีพบทคัดย่อ
ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญของทุกองค์กร โดยเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าและไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หน้าที่หนึ่งขององค์กรคือการทำให้พนักงานในองค์กรมีความสุขในการทำงานและอยากจะทุ่มเทให้กับงาน การจูงใจในการทำงานจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการบรรลุผลการปฏิบัติงานของพนักงานตามเป้าหมายที่วางไว้ หากผู้บังคับบัญชาขาดความเอาใจใส่ ขาดการจูงใจที่เหมาะสม อาจทำให้พนักงานไม่มีความพึงพอใจในการทำงาน ส่งผลกระทบเชิงลบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้ ดังนั้นทีมผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานในธุรกิจงานขายภาคเอกชนของสัตวแพทย์วิชาชีพ โดยรวบรวมข้อมูลจากสัตวแพทย์วิชาชีพที่ทำงานในธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 404 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านลักษณะของงานมีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของสัตวแพทย์วิชาชีพ 2) ปัจจัยสุขอนามัย ด้านบริษัทและนโยบายบริหารจัดการ ด้านสภาพและบรรยากาศในการทำงาน ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล ด้านความปลอดภัยและมั่นคงในการทำงาน และด้านค่าตอบแทน มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของสัตวแพทย์ ธุรกิจภาคเอกชนจึงควรนำข้อสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการปรับปรุงและเสริมสร้างกลยุทธ์การจูงใจ ให้พนักงานเกิดความรัก ความผูกพัน ลดการตัดสินใจเปลี่ยนงาน และสนับสนุนให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรต่อไป
References
กัญญาภัค พิพัฒน์เอี่ยมทอง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). จอมปราชญ์นักการศึกษา: สังเคราะห์ วิเคราะห์และประยุกต์แนวพระราชดำรัสด้านการศึกษาและพัฒนาคน. ด่านสุทธาการพิมพ์.
จุรี วรรณาเจริญกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2), 125-138.
จตุพร สังขวรรณ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
น้ำผึ้ง โชติ. (2556). ความพึงพอใจและแนวโน้มการลาออกของพนักงานภายหลังการควบรวมกิจการ: กรณีศึกษาธนาคาร ABC (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร). [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บริพัตร ศรีวิวรรธนกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการลาออกของนักตรวจสอบภาษีอากรในกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(2), 25-38.
ปวลี วิทยานานนท์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน เชาว์ทางจิตวิญญาณที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออก. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรลภัส สุวรรณรัตน์. (2564). การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ: มุมมองข้ามวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์เอเอเอ เซอร์วิส.
มานะชัย สาอุดม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงาน. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุทธศักดิ์ ชูประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(3), 52-62.
รติรัตน์ ภาสดา. (2559). ความมั่นคงในการทำงานและความจงรักภักดีของพนักงานเงินรายได้สายสนับสนุนวิชาการภายหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรนาฎ เวนุอาธร. (2555). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและจากหัวหน้างาน ความผูกพันในงาน และความตั้งใจลาออกของพนักงานระดับปฎิบัติการ องค์กรภายใต้การดูแลของรัฐแห่งหนึ่ง. [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สกาวรัตน์ อินทุสมิต. (2543). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน: กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุพรรษา พุ่มพวง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
เสาวรส ใหญ่สว่าง. (2552). สถิติเพื่อธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพิน การะกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานในบริษัทเอกชน. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อิสราภา ศศิวิมลรัตนา. (2561). แรงจูงใจในการลาออกจากงานประจำของมนุษย์เงินเดือน. [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุไรวรรณ เกิดผล. (2539). ปัจจัยที่มีต่อความคาดหวงของหัวหน้าสถานีอนามัยต่อระบบการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสานจังหวัดหวัดลพบุรี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
Alshmemri, M., Shahwan-Akl, L., & Maude, P. (2017). Herzberg’s Two-Factor Theory. Life Science Journal, 14(5), 12-16.
Altuntaş, S. (2014). Factors affecting the job satisfaction levels and quit intentions of academic nurses. Nurse Education Today, 34(4), 513-519.
Calisir, F., Gumussoy, C.A. & Iskin, I. (2011). Factors affecting intention to quit among IT professionals in Turkey. Personnel Review, 40(4), 514-533.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons.
Ebel, R. L. & Frisbie, D. A. (1986). Essentials of educational measurement. Prentice-Hall, inc.
Gilmer, D. (1971). Industrial psychology. Macmillan.
Herzberg, M., & Snyderman. (1975). Herzberg’s Two-Factor Theory of Job Satisfaction. Houghton-Mifflin.
Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. John Wiley and Sons, Inc.
House, R. J., & Wigdor, L. A. (1967). Herzberg's dual-factor theory of job satisfaction and motivation: A review of the evidence and a criticism. Personnel Psychology, 20(4), 369–389.
Hur, Y. (2018). Testing Herzberg’s Two-Factor Theory of Motivation in the Public Sector: Is it Applicable to Public Managers?. Public Organization Review, 18, 329–343.
Jackofsky, E.F. (1984). Academy of Management Review, 9(1), 74-83.
Locke, Edwin A. (1976). The Nature and Cause of Job Satisfaction. Band McNally.
Lundberg, C., Gudmundson, A. & Andersson, T.D. (2009). Herzberg’s Two-Factor Theory of Work Motivation Tested Empirically on Seasonal Workers in Hospitality and Tourism. Tourism Management, 30, 890-899.
Sanjeev, M.A. & Surya, A.V. (2016). Two Factor Theory of Motivation and Satisfaction: An Empirical Verification. Annals of Data Science, 3, 155–173 (2016).
Spohrer, J., Golinelli, G.M., Piciocchi, P., & Bassano, C., (2010). An Integrated SS-VSA Analysis of Changing Job Roles. Service Science, 2(1-2), 1-20.
Suwannarat, P. (2013). Factors influencing international joint venture performance in Thailand. International Journal of Business Research, 13(3), 173-186.
Suwannarat, P. (2023a). The moderating role of trust in influencing the effectiveness of export incentives of exporters in the ASEAN. Journal of Asia Business Studies, 17(2), 279-307.
Suwannarat, P. (2023b). Understanding the difference of values-based motivation of managerial workers in spa businesses in Thailand. International Journal of Emerging Markets, 18(2), 483-504.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). McGraw-Hill.
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). Harper & Row.