ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริงหลังยุควิถีชีวิตใหม่ กรณีศึกษา สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/mbr.2024.4คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, เทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริง, สวนสัตว์เปิดเขาเขียวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการยอมรับเทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริง (2) วิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการยอมรับเทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริง และ (3) ตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลทั่วไปที่เคยผ่านการรับชมหรือรับบริการเทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริงของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโมเดลเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริง ได้แก่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, การรับรู้ถึงการได้รับประโยชน์, การรับรู้ถึงการใช้งานง่าย, ทัศนคติที่มีต่อการยอมรับเทคโนโลยี และการยอมรับเทคโนโลยี (2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการยอมรับเทคโนโลยีแบบจำลองเสมือนจริงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า p-value เท่ากับ .000, ค่า Relative Chi-Square เท่ากับ 1.813, ค่า GFI เท่ากับ .923, ค่า CFI เท่ากับ .976, ค่า NFI เท่ากับ .948, ค่า RMSEA เท่ากับ .05, และค่า RMR เท่ากับ .023
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋ไม่เหมือนใคร. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563, มีนาคม 15). New Normal ชีวิตวิถีใหม่ และการปรับตัวในภาวะ COVID-19. สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/1448-new-normal.html
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. Tourism Economic, 1(4). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/TourismEconomicReport
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวไทย. กระทรวงการต่างประเทศ. https://secretary.mots.go.th/policy/
คุณิตา เทพวงค์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่น Bualuang mBanking ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ ในเขตจังหวัดชลบุรี. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2(1), 1-9.
ดลพร ศรีฟ้า. (2562). การสร้างแบบจำลองเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เกาะพะงัน (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ราชบัณฑิตยสภา. (2563, พฤษภาคม 19). เบื้องหลังการบัญญัติศัพท์คำว่า New normal. ราชบัณฑิตยสภา. http://royalsociety.go.th
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว. (2563, มีนาคม 20). ข้อมูลสวนสัตว์เปิดเขาเขียว. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว. http://kkopenzoo.com
DeLone, W. H. & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean Model of Information Systems Success: A Ten-Year Update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.
Davis, F. D., Bagozzi, R., & Warshaw, P. (1989). User Acceptance of Computer Technology A Comparison of Two Theoretical Model. Management Science. 35(8), 982-1003.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed). Pearson Education Inc.
Hair, J.F., Hult, T.M., Ringle, C.M., & Sarstedt, M. (2014). A primer on partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM). SAGE. International Journal of Service Industry Management, 10(3), 320-336.
Mishra, Pestek, A. & Sarvan, M. (2021). Virtual Reality and Modern Tourism. Journal of Tourism Futures. 7(2), 245-250.
Mishra, Preetam. (2021). “A Step Toward Future”-VR. (Fairfield Institute of Management and Technology), Guru Gobind Singh Indraprastha University, Delhi FIMT Campus, Kapashera, New Delhi.
Rosenblum, L., Durbin, J., Doyle, R., Tate, D. (1997). The Virtual Reality Responsive Workbench: Applications and Experiences. Naval Research Lab Washington DC.
Ruotolo, F., Maffei, L., Gabriele, M., Iachini, T. (2013). Immersive virtual reality and environmental noise assessment: An innovative audio–visual approach. Environmental Impact Assessment Review, 41, 10-20.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling (3rd ed.). Routledge.
Serrano, B., Banos, R. M., & Garcia-Palacios, A. (2015). Virtual reality exposure-based therapy for the treatment of post-traumatic stress disorder: a review of its efficacy, the adequacy of the treatment protocol, and its acceptability. Neuropsychiatric Disease and Treatment, 11, 2533-2545.
Trochim, W.M., & Donnelly, J.P. (2006). The Research Methods Knowledge Base. (3rd ed.). Atomic Dog.
World Health Organization. (2020, November 15). WHO Coronavirus Disease (COVID-19). WHO. http://covid19.who.int