กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • อนงค์ ไต่วัลย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นวรัตน์ ชวนะโชติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ลลิดา จูมโสดา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • พัทรียา เห็นกลาง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การปรับตัว, ความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การปรับตัวกับความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนนทบุรีที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียน จำนวน 308 วิสาหกิจ โดยทำการแจกแบบสอบถาม 1 คน ต่อ 1 วิสาหกิจ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis : CFA) และทดสอบข้อสมมติฐานจากสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การปรับตัวด้านการให้ความสำคัญกับลูกค้า กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และกลยุทธ์ด้านต้นทุน มีค่า p-value น้อยกว่า .05 จึงสรุปได้ว่า กลยุทธ์การปรับตัวทั้ง 4 ด้าน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน จากผลวิจัยดังกล่าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนควรเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการปรับตัว กล่าวคือ เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น ควรสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้เกิดความผูกพันในตัวสินค้าและบริการ สร้างความแตกต่างที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ปรับใช้เทคโนโลยีตามยุคสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและต้องบริหารด้านต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2563, 11 กันยายน). ถอดบทเรียนจากวิกฤต COVID-19 กับโลกใหม่ในยุค New Narmal. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. https://www.dip.go.th/th/news/category/2020-08-31-20-02-52

กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2565). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. กรมส่งเสริมการเกษตร.

กฤษฎา บุญชัย. (2563). วิกฤติโควิดกับจุดเปลี่ยนของชุมชนท้องถิ่น. ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2020/04/kritsada-boonchai-14/

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และชเนตตี พุ่มพฤกษ. (2565). ทางรอดและแนวทางการปรับตัวของวิสาหกิจชุมชน แนววิถีใหม่ หลังวิกฤติ COVID-19 ของไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9 (1), 8-9.

พัฒน์กมล อ่อนสำลี. (2564). การปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23 (1), 195-206.

ภูวนารถ ถาวรศิริ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ. (2558). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจน้ำดื่มท้องถิ่นในเขต อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ระวีวรรณ ชูกิตติกุล และชาตยา นิลพลับ. (2564). อิทธิพลของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อ ความจงรักภักดีของลูกค้าโรงแรมสีเขียว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 3-4.

เรวัต ตันตยานนท์. (2560, 1 กันยายน). ความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจ. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/127223

วิศลย์ธีรา เมตตานนท์. (2560). การจัดการความรู้ในวิสาหกิจชุมชน : ทางเลือกในการพัฒนาความสามารถในการอยู่รอด. วารสาร MROD มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(1), 103-126.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564, 13 กุมภาพันธ์). เผยข้อแนะนำวิสาหกิจชุมชน กับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากยุคโควิด -19. ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/smes/detail/9640000014375

หทัยภัทร พลชโตทัย (2564). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาในเขตภาคกลาง. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

Aldrich, H., & Auster, E. R. (1986). Even dwarfs started small: Liabilities of age and size and their strategic implications. Research in Organizational Behavior, 8, 165–198.

Caves, R., & Porter, M. (1977). From entry barriers to mobility barriers: Conjectural decisions and contrived deterrence to new competition. The Quarterly Journal of Economics, 91, 241-26.

Chakravarthy, B. S. (1982). Adaptation: A Promising Metaphor for Strategic Management. The Academy of Management Review, 7(1), 35-44.

Chenhall, R. H., & Langfield-Smith, K. (1998). Adoption and benefits of management accounting practices: an Australian study. Management accounting research, 9(1), 1-19.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Pearson.

Mintzberg, H. (1979). The Structuring of Organizations. Prentice-Hall.

Porter, Michael E., (1990). The Competitive Advantage of Nations. Free Press.

Steer, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22, 46-49, 77.

MBR

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23