ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดทางการเงิน กับผลการดำเนินงานของกิจการ : หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

ผู้แต่ง

  • อรุณี ยศบุตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

DOI:

https://doi.org/10.14456/mbr.2024.5

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ, ประเทศไทย, ผู้บริหารสูงสุดทางการเงิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดทางการเงินกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยทำการศึกษาข้อมูลจากรายงานประจำปี รายงานแบบ 56-1 และงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ในปี พ.ศ. 2563-2564  จำนวนทั้งสิ้น 257 กลุ่มตัวอย่าง และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการจบการศึกษาทางด้านการบัญชีหรือการเงินของผู้บริหารสูงสุดทางการเงิน และการเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้บริหารสูงสุดทางการเงินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ และพบว่าประเภทอุตสาหกรรมของบริษัทซึ่งเป็นตัวแปรควบคุมยังมีความสัมพันธ์กับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทอีกด้วย จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่าคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดทางการเงินในประเด็นสาขาที่จบการศึกษาและการเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

References

จันจิรา ตันอินต๊ะ, อรุณี ยศบุตร, ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล, และศฐา วรุณกูล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารทางการเงินและต้นทุนของเงินทุน: หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 10 (น.119-130). ชลบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.

ฐิติมา สิทธิพงษ์พานิช และพิรุณา ไบโลวัส. (2555). ผลกระทบของคุณลักษณะผู้บริหารสูงสุดที่มีต่อพฤติกรรมการลงทุนและการจัดหาเงินทุนของบริษัท (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ฐิติมา สิทธิพงษ์พานิช และพิรุณา ไบโลวัส. (2557). คุณลักษณะผู้บริหารสูงสุดและมูลค่ากิจการ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 54(4), 57-90.

ธันยพร จำเริญดารารัศมี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของคณะกรรมการและคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไฟ คูสุวรรณ. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารระดับสูงกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภิญญดาพัชญ์ ชัยจรัสเจริญลาภ. (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานของบริษัท : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100). [การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการเงิน]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อนุวัฒน์ ภักดี. (2561). ผลกระทบของลักษณะคณะกรรมการต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 164-175.

เอกวิทย์ โพธิ์กมลวงศ์. (2555). คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานของบริษัท. [การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Davis, J., Schoorman, D., & Donaldson, L. (1997). Toward a stewardship theory of management. The Academy of Management Review. 22(1), 20-47.

Hambrick, D.C., & Mason, P.A. (1984). Upper Echelons: The Organization as a Reflection of Its Top Managers. The Academy of Management Review, 9(2), 193-206.

Hart, P., & Mellors, J. (1970). Management youth and company growth: a correlation?. Management Decision, 4(1), 50-53.

Hermalin, B. E., & Weisbach, M. S. (1991). The Effects of Board Composition and Direct Incentives on Firm Performance. Financial Management, 20(4), 101-112.

Herrmann, P., & Datta, D. K. (2002). CEO Successor Characteristics and the Choice of Foreign Market Entry Mode: An Empirical Study. Journal of International Business Studies, 33(3), 551–569.

Jensen, M.C., & Meckling, W.H. (1976). Theory of the firm: Managerial behavior, agency cost and ownership structure. Journal of Financial Economics, 3(4), 305-360.

Malmendier, U., & Tate, G. (2005). CEO Overconfidence and Corporate Investment. The Journal of Finance, 60(6), 2661–2700.

Morck, R., Shleifer, A., & Vishny, R. W. (1988). Management ownership and market valuation: An empirical analysis. Journal of Accounting and Economics, 39(1), 163-197.

Pfeffer, J. (1981). Some Consequences of Organizational Demography: Potential Impacts of an Aging Work Force on Formal Organizations. (Graduate School of Business). Stanford University.

Taylor, R. N. (1975). Age and Experience as Determinants of Managerial Information Processing and Decision Making Performance. Academy of Management Journal, 18(1), 74-81.

Verrecchia, R. E. (2001). Essays on disclosure. Journal of Accounting and Economics, 32, 97-194.

Yim, S. (2013). The acquisitiveness of youth: CEO age and acquisition behavior. Journal of Financial Economics, 108(1), 250-273.

วารสารบริหารธุรกิจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-29

How to Cite

ยศบุตร อ. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดทางการเงิน กับผลการดำเนินงานของกิจการ : หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. Maejo Business Review, 6(1), 82–98. https://doi.org/10.14456/mbr.2024.5