การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะสำคัญของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

Main Article Content

จันทร์ดี ดีฝั้น

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยใช้ไอซีทีในการจัดการ เรียนรู้ด้วยโครงการในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนรู้โดยใช้โดยใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการในรายวิชาสนุกกับวิทยาศาสตร์กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้เรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ที่เรียนวิชาสนุกกับวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แบบประเมินชิ้นงาน 2) แบบสังเกต คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3) แบบทดสอบ 4) อนุทินผู้เรียนและครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าคะแนนจากการประเมินชิ้นงานในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีคะแนนเฉลี่ย 51.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน1.87 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 80.21 คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และความรับผิดชอบ ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน มีคะแนน เฉลี่ย 30.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.68 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 95.05 คะแนนจากแบบทดสอบ ในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีคะแนนเฉลี่ย 74.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.10 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 78.42 จาก การพิจารณาข้อมูลที่เก็บจากอนุทินของผู้เรียนและครู ข้อมูลจากชิ้นงาน พบว่า ผู้เรียนมีการพัฒนาสมรรถนะ ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งได้แก่สมรรถนะด้านการสื่อสาร สมรรถนะด้านการคิด สมรรถนะด้านการแก้ปัญหา สมรรถนะ ด้านทักษะชีวิต และสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่ปรากฏน้อย คือ สมรรถนะด้านการใช้ทักษะชีวิต ในเรื่องการทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการจัดการปัญหาและ ความขัดแย้งต่างๆ

 

THE STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT AND LEARNERS’ KEY COMPETENCIES OF MATTAYOM SUKSA 3 STUDENTS THROUGH INTEGRATING ICT WITH PROJECT - BASEDLEARNING AT SUKSASONGKRO CHIANG MAI SCHOOL

The purposes of the research were to study the learning achievement and learners’ key competencies through integrating ICT with Project-based learning of Mattayom Suksa 3 students who studied “Fun Science” subject. The population was 12 Mattayom Suksa 3 students who studied “Fun Science” subject in semester 2 of the academic year 2010. The research instruments were 1) a form for evaluating students’ products 2) a form for evaluating students’ attributes 3) a test 4 teacher and students’ journals. The data obtained were analyzed by percentage, mean, standard division and descriptive analysis. The findings were the mean of learning achievement evaluated from students’ products was 51.33, the standard division was 1.87 and the percentage was 81.21. Mean of learners’ desirable characteristics: avidity for learning and dedication and commitment to work, was 30.42, the standard division was 1.68 and the percentage was 95.05. The mean of learning achievement evaluated from the test was 74.50, the standard division was 7.1 and the percentage was 78.42. The findings from analyzing the students’ journal, teacher’s journal and student’s products were five key competencies: communication capacity, thinking capacity, problem–solving capacity, capacity for applying life skills and capacity for technological application were developed. The ability to work and be together in the society to solve problems or other difficulties was developed least

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)