แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการงานวิชาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

กัลยา แสงเรือง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการงาน วิชาการด้านหลักสูตรสาขาวิชา การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การบริการวิชาการและการ พัฒนาอาจารย์ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่นำไปสู่การพัฒนาแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการ งานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษา/อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ 165/30 คน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 54/24 คน วิทยาลัยการฝึกหัดครู 150/34 คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 215/22 คน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 154/42 คน นำมาวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจากการสนทนากลุ่มจากนักศึกษา อาจารย์ ตัวแทน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มละ 10 คน นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปว่า 1) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อปัญหาอุปสรรคและความคิดเห็นต่อการบริหาร จัดการงานวิชาการด้วยหลักสูตรสาขาวิชา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้าน บริการวิชาการ ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับอาจารย์มีความคิดเห็นด้านหลักสูตรสาขาวิชาอยู่ในระดับ มาก ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านบริการวิชาการ และด้านการ พัฒนาอาจารย์อยู่ในระดับปานกลางส่วนเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่าการจัดห้องเรียนไม่เหมาะสมกับนักศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอและชำรุด 2) ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การพัฒนาแผนกลยุทธ์การบริหาร จัดการงานวิชาการ โดยสรุปจากอุปสรรค ปัญหา ความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่าง และศึกษาจากเอกสารงาน วิจัยและบริบทที่เกี่ยวข้อง ด้านหลักสูตรสาขาวิชา ควรมีหลักสูตรที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการ ของบริบทและสังคมที่เปลี่ยนแปลง และมีกลไกการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ด้านการวัดและประเมินผลควรมีระบบกลไกและมาตรการที่ชัดเจนทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ด้านการบริการวิชาการ ควรมี แผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ของหน่วยงานที่ส่งเสริมด้านกระบวนการผลิตบัณฑิต ด้านการพัฒนาอาจารย์ ควรมีสื่อ เครือข่ายและกลไกในการสนับสนุนอาจารย์ทางด้านจิตวิญญาณความเป็นครูและความเป็นผู้นำ ทางวิชาการกับชุมชน

 

Phranakhon Rajabhat University Academic Management Strategy Development

The purposes of the research were: 1) to investigate problems, obstacles, and opinions about academic management strategies regarding curriculum and study programs, instructional management, assessment and evaluation, academic services, and teaching professional development, and 2) to survey suggestions for strategic plan development of academic affair management of Phranakhon Rajabhat University. A questionnaire was used to collect data from the samples comprising 165 of the students and 30 of the lecturers from the Faculty of Management Sciences, 54 of the students and 24 of the lecturers from the Faculty of Industrial Technology, 150 of the students and 34 of the lecturers from the College of Teacher Education, 215 of the students and 22 of the lecturers from the Faculty of Humanities and Social Sciences, and 154 of the students and 42 of the lecturers from the Faculty of Science and Technology. The data were analyzed by using mean, and standard deviation. The focus-group discussions were conducted on 10 persons in each of these four groups: students, lecturers, administrators, and supporting staff. The content analysis was performed to analyze the qualitative data.

The research findings revealed as follows: 1) The students’ opinions on the aspects of the curriculum and study programs, assessment and evaluation and academic services were at moderate levels. The lecturers’ opinions on the curriculum and study programs were at high levels, and those on the other mentioned aspects were at moderate levels, 2) Suggestions for the strategic plan development of academic affairs regarding obstacles, problems, and opinions offered by the samples, and related research and contexts were summarized as follows:

The curriculum and study programs: A variety of study programs should be offered to serve the social needs and social changes. Besides, the curriculum management mechanism should be employed.

The instructional management: Teachers’ instruction should be presented in various ways and based on student-centered activities.

The assessment and evaluation: Clear mechanism and measures for both students and lecturers should be developed. Academic services: Strategic plans of each faculty in order to produce qualified graduates should be devised. Teaching professional development: There should be materials, networks, and mechanism supporting of teacher spirit and promoting academic leadership for society.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)