การใช้สารสนเทศของนักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Main Article Content
Abstract
1. สภาพการใช้สารสนเทศพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ ส่วนใหญ่ มีความถี่ในการเข้าใช้สำนักวิทยบริการ เดือนละครั้ง ช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการมาก คือ เวลา 12.01– 14.00 น. นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา มีจุดประสงค์ในการเข้าใช้สำนักวิทยบริการ อันดับแรกเหมือนกันคือ เพื่อค้นคว้ารายงาน วิทยานิพนธ์ ส่วนอาจารย์มีจุดประสงค์อันดับแรก คือ เพื่อค้นคว้าข้อมูลในการเตรียมการสอน วิธีค้นหาทรัพยากรสารสนเทศในสำนักวิทยบริการ ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ ส่วนใหญ่ ค้นจากคอมพิวเตอร์ในสำนักวิทยบริการ
2. ปริมาณการใช้สารสนเทศ พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา มีปริมาณ การใช้สารสนเทศโดยรวมในระดับปานกลาง ทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้มาก ได้แก่ หนังสือพิมพ์ภาษาไทย ตำรา ภาษาไทย และวิทยานิพนธ์ ส่วนอาจารย์มีปริมาณการใช้สารสนเทศโดยรวมในระดับน้อย ทรัพยากร สารสนเทศที่ใช้มาก ได้แก่ หนังสือตำราภาษาไทย หนังสือพิมพ์ภาษาไทย และตำราภาษาต่างประเทศ
3. ปัญหาการใช้สารสนเทศ พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ ประสบปัญหาโดยรวมในระดับปานกลาง แต่ปัญหาที่ประสบในระดับมาก ได้แก่ หนังสือที่มีอยู่เนื้อหาไม่ทัน สมัย คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ทันสมัย ช้ามาก และวิทยานิพนธ์มีน้อย
4. ความต้องการบริการสารสนเทศ พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา และ อาจารย์ มีความต้องการโดยรวมในระดับปานกลาง ข้อที่มีความต้องการมาก อันดับแรก ของ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา คือ บริการรายชื่อหนังสือใหม่บนเว็บไซต์ ส่วนข้อที่ อาจารย์ต้องการมาก อันดับแรก คือ บริการแจ้งเตือน และทวงหนังสือค้างส่ง
5. เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ จำแนกตามตัวแปร พบว่า
5.1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา มีปริมาณการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากกว่าอาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5.2 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีปัญหาในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากกว่า อาจารย์ และ นักศึกษาระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
5.3 อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีความต้องการบริการสารสนเทศ มากกว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Information use by Student and Faculty at Phranakhon Rajabhat University
The purposes of this study were twofold. First, it was to investigate the information use, the amount of using the library, the information service problems, and information service needs of teachers, undergraduates and graduates of Phranakhon Rajabhat University. Second, it aimed to compare the amount of using the library, service problems, and information service needs. The samples were 515 of the teachers, undergraduates and graduates of Phranakhon Rajabhat University, during academic year 2008. They were derived through a stratified random sampling. A questionnaire was administered and then data were analyzed by SPSS for Windows to find percentage, mean, standard deviation and F-test. The results revealed as follows:
1. Regarding the information use, it was obvious that the teachers and undergraduates and graduates used the library once a month, especially during the period of 12.01 p.m. – 2.00 p.m. The purpose of undergraduates and graduates was similar i.e. to write their reports or theses whereas that of the teachers was to prepare their instruction. As for the means of searching library resources, most of the undergraduates, the graduates, and the teachers used OPAC in the library.
2. The amount of using the library of the undergraduates and the graduates was at a moderate level. Their most often used information resources were Thai newspapers, Thai textbooks and theses. On the contrary, the amount of using the library of the teachers was at a low level and their most often used information resources were Thai textbooks, Thai newspapers, and foreign language textbooks.
3. As for information service problems, it revealed that the undergraduates, the graduates, the teachers had problems at moderate levels. The problems found at the high level were out-of-date textbooks, slow internet service, and inadequacy in theses.
4. In terms of information service needs, it was clear that the undergraduates, the graduates, and the teachers showed their needs at middle levels. The most wanted aspect for the undergraduates and the graduates were lists of newly arrived books on the website whereas those of the teachers were reminders before due-date and reminders of late return.
5. The comparative study of information service use of the samples classified by the variables revealed as follows:
5.1 The undergraduates and the graduates significantly used information resources more than teachers at .05 level.
5.2 The graduates had more information service problems than the undergraduates and the teachers at .05 level of significance.
5.3 The teachers and the graduates expressed the needs for information service higher than the undergraduates at .05 level of significance.
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves