ศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

วันชัย ปานจันทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนระดับ บัณฑิตศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา และนักศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพและความพร้อมต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 กลุ่มคือ 1) นักศึกษาที่ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ในปีการศึกษา 2553 ซึ่งมีประชากรทั้งสิ้น 3,548 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330 คน 2) กรรมการหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับให้กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับศักยภาพและความพร้อม ในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ทั้ง 2 กลุ่มดังนี้

1. ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เกี่ยวกับศักยภาพและความ พร้อมในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครมีศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอยู่ในระดับมากทั้ง 8 ด้าน คือ 1) ด้านอาคารสถานที่ 2) ด้านการบริหารและจัดการหลักสูตร 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้าน กิจกรรมเสริมหลักสูตร 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล 6) ด้านสื่อและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ 7) ด้าน สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวก และ 8) ด้านบุคลากรทางการศึกษา

2. ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกรรมการหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน เกี่ยวกับศักยภาพและ ความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครมีศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอยู่ในระดับ มาก 2 ด้าน คือ 1) ด้านอาคารสถานที่ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปาน กลาง 6 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารและจัดการหลักสูตร 2) ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3) ด้านการวัดผลและ ประเมินผล 4) ด้านสื่อและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ 5) ด้านสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวก และ 6) ด้าน บุคลากรทางการศึกษา

3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษากับกรรมการหลักสูตรและ อาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร พบว่า โดยภาพรวมเมื่อมีการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพและความพร้อมใน การจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างนักศึกษากับคณะกรรมการประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้ สอน มีความคิดเห็นแตกต่างกันทั้ง 8 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

Potential and Readiness in Learning Management of Phranakhon Rajabhat University’s Graduate Studies

The purposes of this research were (1) to study the potential and readiness in graduate studies management and (2) to compare the opinion of the curriculum committee, teachers, and students of this level. The samples were 330 students selected from the total 3,548 population who registered in the academic year 2010 by using a simple random sampling as well as 50 curriculum committee and instructors. The research tool was a five rating scale questionnaire. In addition, the statistics employed in this research were percentage, mean, standard deviation, and t-test.

The results of the opinions of both samples on potential and readiness on graduate students' management at Phranakhon Rajabhat University were as follows:

1. Graduated student’s opinion on potential and readiness in graduated studies management was found at high levels in eight dimensions; i.e, 1) building and facilities, 2) curriculum management, 3) learning and teaching management, 4) extra curriculum activities 5) assessment and evaluation 6) media and audio visual equipment, 7) welfare and facilities and 8) education staff.

2. Curriculum committee and teachers on potential and readiness in graduate study management revealed options at a high level in building and facilities dimension as well as learning and teaching management. The moderate level were in six dimensions i.e.,1) curriculum management 2) extra-activities 3) assessment and evaluation 4) media and audio visual equipment 5) welfare and facilities and 6) education staff.

3. When comparing the opinion of graduate students and curriculum committee and instructors, it was found that both had different opinions in eight aspects with the statistically significant level at 0.05.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)