การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครู ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

Main Article Content

พรหมมา วิหคไพบูลย์

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครูตามแนวทางการปฏิรูปการ ศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครูตามแนวทางการปฏิรูป การศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครูตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่ พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพัฒนาและประเมินรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครู ซึ่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชา ที่ทำการสอนตามรายวิชาในมาตรฐานความรู้ 9 ด้าน และวิชาเฉพาะด้าน จำนวน 11 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำเนื้อหา แบบฝึก จัดทำแบบทดสอบ และประเมินรูปแบบ และ 2) กลุ่มทดลองใช้ระบบและการประเมินระบบการเสริมสร้างความเป็นครูตามแนวทางการปฏิรูปที่พัฒนาขึ้น คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในวุฒิการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.5 ปี) ในวิทยาลัยการ ฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 143 คน โดยกำหนดเกณฑ์เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 15- 30 ของประชากร โดยเหตุผลที่ใช้กลุ่มทดลองนี้เนื่องจาก นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ได้ผ่านการเรียนใน มาตรฐานความรู้ในทุกวิชาแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความครอบคลุม และความพึงพอใจ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบ e-Learning วิเคราะห์โดย ใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีผลการศึกษาดังนี้

1. รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครูตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา พบว่า รูปแบบการเสริม สร้างความเป็นครูตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา เป็นแบบแผนในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของรูปแบบอย่างเป็นระบบ ในการสร้างเป็นความรู้ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ เว็บพอทัล (Portal) มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการการเสริมสร้างความเป็นครูตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วยความรู้ (K = Knowledge) ตามมาตรฐานความรู้ 9 ด้าน และวิชาเฉพาะด้าน กระบวนการ (M= Management) ประกอบด้วย 6 กิจกรรม และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (S=System) ประกอบด้วย 19 ระบบ และผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครู ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน พบว่า ความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญต่อรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นครูตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา อยู่ในระดับมาก โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า รูปแบบนี้มีความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเป็นไปได้ใน การนำไปใช้และรูปแบบมีความเหมาะสมและถูกต้องครอบคลุม

2. ผลศึกษาผลการใช้รูปแบบ พบว่า

2.1 ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความครอบคลุม และความพึงพอใจต่อการออกแบบ ระบบ โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบ สรุปได้ดังนี้ ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามได้ จำนวน 143 ฉบับ คิด เป็นร้อยละ 21.28 โดยด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความครอบคลุม และด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน

2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบ E-Learning ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามได้ จำนวน 143 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 21.28 ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ระบบมีความพึง พอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายเรื่อง พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเกือบทุก รายการ ยกเว้น ในเรื่องบทเรียนสามารถตอบสนองการเรียนรู้ทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเนื้อหา สาระในบทเรียนมีความเหมาะสมถูกต้อง ละเอียดชัดเจน ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

 

Development of a Model for Strengthening Teacher Characteristics in Response to Educational Reform

This research aims to create a model for strengthening teacher characteristics based on educational reform. Accordingly, the particular purpose of the study focuses on (1) developing a model for teacher characteristics based on educational reform (2) testing the use of the model for teacher characteristics based on educational reform. Research samples are divided into 2 groups. The first group to develop and evaluate the model. It contained 11 specialists who are in charge of teaching in the 9 subject areas of standard and also the specific ones. The second group consists of students which is about 15-30% of the total population. They are 3rd and 4th year students of Phranakhon Rajabhat University, in 5-year course of Teacher Education college. As they have already studied and acquired the paradigm course. The data is analyzed by descriptive statistics i.e. mean and standard deviation. The results reveals as follow :

1. Achieve the goal of developing model for strengthening teacher characteristics based on educational reform systematically, ‘Web Portal’ is used as a tool of managing the whole process. They are K (knowledge), M (management), and S (system). Each of them can be clarified at this point.

K (knowledge) this term includes nine interrelated areas and some specific courses are added in this process. M (management) some aspects of knowledge in this process are investigation, construction, compilation, transference, distribution, sharing and exchange, utilization, and assessment. S (System) (information technology and communication system) 19 systems in the whole process.

As for the quality testing of model for strengthening teacher characteristics based on educational reform by the 11 experts, the results reveals that the model is determined satisfied by at high level. The highest of the average indicates that this model is utilized. Subsidiary aspects are the range of usage probability. In addition, the comprehensiveness and appropriation of the model both display at the same level.

2. Reseal as follows :

2.1 The total of 143 questionnaires, 21.28%, can be collected from the group of users in order to assess the utilization, comprehensiveness, and satisfaction in systemic design. The study shows that the three aspects mentioned earlier are all rated at high levels.

2.2 The finding of satisfying with e-learning system obtains from 143 questionnaires, distributed to the sample group, it shows that the group is satisfied with this system at a high level. Almost every category of this system is contented. Moreover, the most satisfaction in this area is that the content of the lessons support to e-learning system effectively. Also, all contents are precise, appropriate, and comprehensible.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)