สถานการณ์การจ้างงานและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศไทยต้องการ

Main Article Content

ชัชสรัญ รอดยิ้ม

Abstract

สถานการณ์การจ้างงานและคุณลักษณะบัณฑิตที่ภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยต้องการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การจ้างงานในประเทศ และจำนวนอัตราการจ้างงานที่ภาครัฐและ ภาคเอกชนในประเทศต้องการ (2) ศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม และผู้ว่าจ้างทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนในประเทศ และ (3) สังเคราะห์หารูปแบบและวิธีการการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สังคม พึงประสงค์ และผู้ว่าจ้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศต้องการ โดยใช้รูปแบบของการวิจัยหาคำตอบ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับบัณฑิต จำนวน 1,031 คน กับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง และการ วิเคราะห์เอกสาร โดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวกับสถานการณ์การจ้างงานในประเทศ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สถานการณ์การจ้างงานในประเทศ และจำนวนอัตราการจ้างงานที่ภาครัฐและภาคเอกชนใน ประเทศต้องการ พบว่า องค์กรที่เปิดรับสมัครเป็นองค์กรเอกชน ร้อยละ 77.0 และรัฐบาล ร้อยละ 23.0 และ สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร นั้นส่วนใหญ่เป็นสาขาที่เป็นที่รู้จักในตลาดวิชาและตลาดแรงงาน อันดับที่ 1 คือ ได้จำกัดสาขา ร้อยละ 18.88 อันดับที่ 2 คือ สาขาบริหารธุรกิจ ร้อยละ 11.28 อันดับที่ 3 คือ สาขาบัญชี ร้อยละ 10.99 อันดับที่ 4 คือ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 8.91 อันดับที่ 5 คือ สาขาการตลาด ร้อยละ 7.94

2. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม และผู้ว่าจ้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ คือ บัณฑิตต้องมีพฤติกรรมและการแสดงออกที่เหมาะสม ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม 32 ประการ ที่ผ่านกระบวนการ สร้างความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ 12 ประการ จากมหาวิทยาลัย เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

3. รูปแบบและวิธีการการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สังคมพึงประสงค์ และผู้ว่าจ้างทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนในประเทศต้องการ คือ การสร้างความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยคือผู้ที่ทำ หน้าที่หลัก ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ประกาศเป็น วาระของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ เจ้า หน้าที่ และนักศึกษา เข้าใจตรงกันถึงเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และเป็นการประกาศนโยบายมหาวิทยาลัยสู่ สาธารณะ

 

Employment Situation and the Degree of Public and Private Sector in Thailand

The purposes of this study were 1) to study the employment situations, and a number of jobs needed in the government and private sectors in Thailand, 2) to study the qualifications of the graduates needed, and 3) to synthesize models and ways to produce the qualified graduates that are needed by the use of the combination of both the quantitative analysis through the questionnaires sent to 1,031 persons concerned, together with the qualitative analysis through the intensive interviews by the people concerned, and the analysis of the information in the documents dealt with the employment situations of the country. The following conclusions were drawn as a result of the findings of this study:

1) Regarding the employment situations and a number of jobs needed in the government and private sectors in Thailand, it was found that most of the employers 77.0% were the private sectors, and 23.0% belonged to the government. Most of the fields of study were well-known to the labour market: the fields of study not specified 18.88 %, Business Administration 11.28 %, Accounting 10.99%, Engineering 8.91%, and finally Marketing 7.94 %.

2) The qualifications needed for the graduates for both the government and the private sectors were their appropriate behaviours and expression personally and socially for 32 items which were totally trained in knowledge, ability, and 12 skills from the universities.

3) In relation to the models and ways of producing the graduates needed, the employers, both the government and the private sectors in Thailand, want the universities to put emphasis on knowledge, ability, and skills through teaching and learning process, and all the activities both inside and outside the universities. The universities are supposed to have clear policies as plans or projects to be done by the professors, relevant staff and the students. Make sure that everyone has the same understanding of the universities’ targets which were informed in the public.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)