การนำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลในการรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเลไปปฏิบัติ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการนำนโยบายความมั่นคง แห่งชาติทางทะเลในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไปปฏิบัติของหน่วยปฏิบัติการ หลัก 2) ผลของการนำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลในการรักษาผลประโยชน์ของ ชาติทางทะเลไปปฏิบัติ และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทาง ทะเลในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไปปฏิบัติ ในการดำเนินการวิจัยใช้วิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการสุ่มแบบเจาะจง ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากบุคลากรของหน่วย ปฏิบัติงานหลักทั้ง 6 หน่วย ของศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล (ศรชล.) รวมทั้งบุคลากรของ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการนำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลในการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไปปฏิบัติ การประสานเป็นลักษณะของการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย ส่วนการปฏิบัติเป็นเรื่องของการตัดสินใจของแต่ละ หน่วยปฏิบัติการหลัก 2) ผลการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลในการ รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีผลการปฏิบัติงานระดับผลผลิตของหน่วย เกิดผล กระทบเฉพาะบางเรื่อง ส่วนระดับของการทำหน้าที่ตามนโยบายมีเพียงบางหน่วยงานหลัก เท่านั้น ยังไม่เห็นภาพของการทำงานร่วมกัน และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติมี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ ปัจจัยด้านบริบทนโยบาย ปัจจัยด้านทรัพยากรและการพึ่งพา และปัจจัยด้านการประสานการปฏิบัติ นอกจากนี้การ วิจัยพบว่า การให้คำมั่นสัญญา (commitment) ของผู้บริหารระดับสูง มีผลต่อการ ประสานงานซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการทำงานภาครัฐในปัจจุบัน ดังนั้นยุทธศาสตร์ใน การทำงานร่วมกันจึงเป็น ยุทธศาสตร์การประสานงาน
NATIONAL MARITIME SECURITY POLICY IMPLEMENTATION CASE OF NATIONAL MARITIME INTERESTS ENFORCEMENT
The researcher investigates 1) the processes involved in implementing of the National Maritime Security Policy by major agencies 2) the results of implementation of the National Maritime Security Policy ; and 3) factors influencing the successful achievement of the goals on implementing of the National Maritime Security Policy. In carrying out this investigation, the research paper was conducted by in-depth interview. The researcher has specified key informants from the six major agencies and office of national security Council by purposive sampling. Findings derived from qualitative research found that the implementing of the National Maritime Security Policy were conducted through meetings to deliver working guidelines, seminar to gain more knowledge and exchange view of interests and experiences. The goal achievements of he National Maritime Security Policy implementation were not accomplished as defined in the policy objectives. There were only 4 factors that have effect on policy achievement as follows- interorganization relationship, policy context, resource dependence and coordination. Commitment by top management plays a crucial role in interorganization relation; therefore, coordination strategy is still relevant for government works.
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves