การบริหารจัดการห้องเรียน ครุภัณฑ์ของสาขาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Main Article Content

วรภพ ประสานตรี
มนัส วัฒนไชยยศ
อนุรักษ์ บุญแจะ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการห้องเรียน ครุภัณฑ์ของสาขา ดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ระดับคณะ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีสากล จำนวน 14 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึกและการศึกษาข้อมูลทางเอกสารโดยใช้กระบวนการ PDCA ในการวิเคราะห์ ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า สาขาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีการบริหาร จัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) และใช้กระบวนการ PDCA ในการบริหารจัดการภายในสาขาวิชา มีรายละเอียด ดังนี้

1. เริ่มการวางแผนร่วมกันก่อนการเปิดภาคเรียนในแต่ละปีการศึกษา และจัดส่งแผนที่ ได้แก่คณะและมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาต่อไป

2. มีการดำเนินการตามแผนที่ได้อนุมัติ อย่างไรก็ตาม แผนที่เสนอไม่ได้รับการอนุมัติ ทั้งหมด จึงต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางการแก้ไขเพื่อที่จะดำเนินการได้

3. มีการตรวจสอบโดยสาขาและคณะว่ามีการดำเนินการเป็นไปตามแผนหรือไม่ ตลอดจนการวิเคราะห์สาเหตุของการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามแผนเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข

4. มีการปรับปรุงแก้ไขในทุกขั้นตอนในการบริหารจัดการ เพื่อการจัดการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ

 

CLASSROOM AND SUPPLY MANAGEMENT OF MUSIC DEPARTMENT OF BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY

The purpose of this research was to study the classroom and supply management of Music Department of Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The population included 14 faculty executives and teachers of Music Departments. Data was collected through in-depth interviews and documentation and was analyzed on basis of PDCA Process.

The findings revealed that Music Department of Bansomdejchaopraya Rajabhat University adopted Total Quality Management (TQM) and PDCD Process for internal administration as follows:

1. The department held a meeting for plan making prior to the beginning of the new semester and submited the final plan to the faculty and university for further consideration.

2. The department proceeds according to the approved plan, except some suspended projects which needed the revision and improvements after the resolution from the meeting.

3. The correlation between approved plan and implementation by the department was monitored either internally or externally by the faculty. The factors leading to the failure of the implementation were also analyzed for further solution.

4. The administration was improved in all processes for better instruction.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)