ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ณัฎฐพงศ์ ถือดำ
จิตราภา กุณฑลบุตร
ไพบูลย์ วิริยะวัฒนะ
เกรียงไกร โพธิ์มณี

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาสภาพ สมรรถนะผู้บริหาร และ 3) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารคณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็น หลัก ประชากรที่ศึกษาได้แก่ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง จำนวน 289 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม เกี่ยวกับสมรรถนะและแนวทางพัฒนา สมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการบริหารแบบมืออาชีพส่งผลต่อ สมรรถนะ ของผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์มากที่สุดรองลงมาคือตัวบ่งชี้ด้านภาวะผู้นำ 2) ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มีสมรรถนะ ด้านคุณธรรม จริยธรรมสูงที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารคณะ วิทยาศาสตร์ มีวิสัยทัศน์คือผู้บริหาร คณะวิทยาศาสตร์เป็นนักบริหารแบบมืออาชีพ นำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สู่เวทีวิชาการระดับสากลในปี 2020 พันธกิจคือพัฒนาผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ให้เป็น นักบริหาร แบบมืออาชีพ มีทักษะในการสื่อสารและ ประสานงานในระดับสากล ประเด็นยุทธศาสตร์คือ พัฒนาสมรรถนะ ผู้บริหารคณะ วิทยาศาสตร์ มีกลยุทธ์ประกอบด้วย กลยุทธ์การพัฒนาวิสัยทัศน์กับความคิดเชิงอนาคต กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การจัดการความรู้ กลยุทธ์การบริหารงบประมาณแบบมืออาชีพ กลยุทธ์การพัฒนาความคิดเชิงระบบเพื่อการ ตัดสินใจ กลยุทธ์การทำงานเชิงรุกยุคใหม่ กลยุทธ์การเป็นผู้นำทีม กลยุทธ์ภาวะผู้นำและศิลปะ การบริหารคน อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การวางแผนและปรับปรุงงานอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การบริหารงาน แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ กลยุทธ์พัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหาร ผลงานอย่างมีคุณภาพ และกลยุทธ์การเพิ่มทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาสากล

 

STRATEGIC FOR COMPETENCY DEVELOPMENT OF ADMINISTRATORS IN FACULTY OF SCIENCE RAJABHAT UNIVERSITIES

The objectives of this dissertation are 1) to study the indicators of the management’s competency 2) to study the competency of management 3) to implement development strategy management competency of the Faculty of Science of Rajabhat University. The sampling is the management of the Faculty of Science of Rajabhat University. The sampling size is determined by using mixed method research methodology with the emphasis on quantitative research. Population is the 289 management of the Faculty of Science from 40 of Rajabhat Universities. The total number of sampling is 166. Research Tools are interview and questionnaire on determining competency and developing competency. Statistic technique applied is frequency, percentage average, standard deviation, factor analysis, and content analysis.

The research findings are 1) professional management is the indicator on the management competency while the leadership is the minor indicator. 2) The management of the Faculty of Science of Rajabhat University has high virtue and morality. Besides, they also have high team work. 3) The vision of Strategic Development on the Management of the Faculty of Science to lead them to the professional management, bring them to international academic arena by 2020. The mission is to develop the management of the Faculty of Science to be professional with communication skill and international coordination. Strategic issue is to develop the competency for the management of the Faculty of Sciencs and the tactics comprising of strategic on development of vision and futuristic thinking, strategy on conflict management, strategy on change management, strategy on knowledge management, strategy on professional budgeting, strategy on developing systematic thinking for decision making, strategy on offensive working, strategy on team leading, strategy on leadership and skill on people management, strategy on planning and improving work, strategy on result oriented management, strategy on developing strategic thinking for high quality work management and finally, communication strategy in communication with international language.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)